บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีการเล่นเเชร์กฏกติกามารยาทในการเล่นเเชร์

วิธีการเล่นเเชร์กฏกติกามารยาทในการเล่นเเชร์


         ความตกต่ำทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเมื่อใด  เราก็จะพบเห็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบต่าง ๆ สร้างความเสียหายแก่ประชาชน  กรณีที่เห็นชัด  คือ  การกลับมาระบาดของแชร์ลูกโซ่และตกเป็นข่าวแทบจะทุกสื่อในเวลานี้  โดยเฉพาะแชร์ข้าวสาร  และแชร์ก๋วยเตี๋ยวบางกอก  ล่าสุดทางการออกมาเตือนให้ระวังธุรกิจแฟรนไชส์กว่า  400  รายที่อาจเข้าเป็นข่ายแชร์ลูกโซ่

                                วิธีการของแชร์ลูกโซ่เป็นอย่างไร  ทำไมจึงสามารถหลอกลวงให้ประชาชนตกเป็นเยื่อได้ในวงกว้างและเราจะมีวิธีการพิจารณาลักษณะธุรกิจที่เป็นแชร์ลูกโซ่ออกจากธุรกิจโดยทั่วไปได้อย่างไร



                                ลักษณะธุรกิจแชร์ลูกโซ่ :  ประมาณ  20  ปีก่อน  มีตัวอย่างการล้มละลายของแชร์ลูกโซ่  ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก  คือ  การล้มละลายของแชร์น้ำมัน  หรือ  แชร์แม่ชม้อย  หลังจากนั้นไม่นานได้เกิดการล้มละลายของบริษัท  บริดเชอร์  คอร์เปอร์เรชั่น  และเมื่อปี  2548  บริษัท  กรีนแพลนเนท  เป็นแชร์ลูกโซ่ขนาดใหญ่อีกรายที่เกิดปัญหาล้มละลาย

                                จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดกฎหมาย  พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน  พ.ศ. 2527  ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในมาตรา  4  ว่า  “  ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏแก่

ประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป  ในการกู้ยืมเงิน  ตนหรือบุคคลอื่นใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน  ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยให้กู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้

 โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน  หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า  ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้  และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ”
            และมาตรา  12  บัญญัติว่า  “  ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา  4  หรือมาตรา  5  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่  5  ปี  ถึง  10  ปี  และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท  และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ”

                                วิวัฒนาการแชร์ลูกโซ่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปอยู่ในรูปธุรกิจขายตรง  ( Multi  Level Marketing : MLM )  ซึ่งในหลายบริษัทอาจใช้คำอื่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น การตลาดแบบระบบเครือข่าย  ( Network Marketing )  และแชร์ลูกโซ่บางแห่งในปัจจุบันแฝงตัวอยู่ในธุรกิจแฟรนไชส์


                                รูปแบบการทำงานของธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่เน้นการหาสมาชิกเพื่อมาร่วมลงทุนตามแบแผนธุรกิจ  ซึ่งส่วนมากลักษณะแผนธุรกิจของบริษัทประเภทนี้แทบจะไม่ต่างกัน  แต่อาจจะเปลี่ยนแค่รูปแบบโดยใช้สินค้าหรือบบริการที่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น  แต่ในความเป็นจริงการซื้อขายสินค้าเป็นเครื่องบังหน้าเพื่อเลี่ยงกฎหมายเท่านั้น
                                การพิจารณาว่าธุรกิจเป็นแชร์ลูกโซ่ :  ธรรมชาติของกิจกรรมการผลิตหรือการประกอบธุรกิจใดก็ตาม  จะสามารถนำทรัพยากรมาผลิตสินค้าและบริการได้นั้น  จะอาศัยส่วนผสมของปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น  4  ปัจจัยด้วยกัน  คือ  ที่ดิน  ทุน  แรงงาน  และผู้ประกอบการ
                                แชร์ลูกโซ่นั้นต่างจากการเล่นแชร์  เนื่องจากการเล่นแชร์นั้นมีกฎหมายรองรับ คือ  พระราชบัญญัติการเล่นแชร์  พ.ศ.2534  ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา  4  ว่า

                                “  การเล่นแชร์  หมายความว่า  การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์  โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด  รวมเข้าเป็นกองทุนกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย ”

                                ซึ่งการเล่นแชร์นั้นกฎหมายอนุญาตให้เล่นได้โดยมีข้อห้ามอยู่ในมาตรา  6  โดยบัญญัติว่า  “  ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                                (๑) เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวง
                                (๒) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน

                                (๓) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

                                (๔) นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งงวดใดได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
                                เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ให้ถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ด้วย ”

                                ดังนั้นคงพอเข้าใจความแตกต่างระหว่างการเล่นแชร์ กับ แชร์ลูกโซ่นะครับ  แล้วอย่าตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่ก็แล้วกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น