ขั้นตอนการเปิดร้านทำผมดัดผม
ร้านพวกนี้ถ้าเปิดเเล้วไปได้กำไรดีรอรับเงินอ่ยางเดียวเลยครับ พี่น้อง
ขอบคุณบทความจาก http://www.hifulla.com
ลักษณะธุรกิจ
ปัจจุบัน ร้านตัดผม ให้บริการ ตัดผม และ เสริมสวย ทั้งบุรุษและสตรีครอบคลุมถึงการ ออกแบบผม ตัดผม สระผม ซอยผม ย้อมผม และการ เสริมสวย อื่นๆ โดยเน้นการ ตกแต่งร้านเข้ากับสมัยนิยม
วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน
ผู้ประกอบธุรกิจร้านตัดผมประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ประเภทนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
กรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน 1,000 บาท- ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก คนละ 200 บาทจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 – 25,000 บาท- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000 – 250,000 บาท ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา
-ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
-ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94)
-หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
นิติบุคคล
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
-ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51)
-หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
ภาษีป้าย
ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หากมีการรับจ้างแต่งเล็บ หรือแคะหู
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานเขตที่ตั้งสถานประกอบการ
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือ สำนักงานสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดูแลเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ
ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ใบอนุญาตให้ตั้งหรือใช้สถานที่เป็นที่รับจ้างแต่งผม และให้เป็นผู้รับจ้างแต่งผมสถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานหรือเขตที่ตั้งสถานประกอบการ
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือ สำนักงานสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดูแลเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ
ค่าธรรมเนียม สถานที่ตัดผม 20 – 200 บาท ผู้รับจ้างตัดผม 20 บาท การปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการ
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจบริการตัดผมและเสริมสวย ต้องปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการให้เห็นชัดเจนในที่เปิดเผย ณ สถานที่ตั้ง การฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทนอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
รายละเอียดการลงทุน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกเป็น
-ตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน อัตราส่วนร้อยละ 45
-เครื่องมือและอุปกรณ์ในร้านตัดผม อัตราส่วนร้อยละ 17 ประกอบด้วย เครื่องอบไอน้ำ เครื่องอบผม ไดร์เป่าผม กรรไกรตัดผม ปัตตาเลี่ยน เป็นต้น
-เงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนร้อยละ 38 ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุสำหรับบริการลูกค้า เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า เป็นต้น
อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ทำเลที่ตั้ง และความสามารถในการบริหารธุรกิจ ข้อมูลเฉลี่ยจากการสำรวจ ผู้ประกอบการมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายรับ ร้อยละ 18.24 กำไรสุทธิต่อเงินลงทุน ร้อยละ 48.07 ต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.8 ปี
การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
ปัจจัยการตั้งราคา ประกอบด้วย
- ต้นทุน
- ทำเลที่ตั้ง
- ค่าบริการของร้านตัดผมในระดับเดียวกันในท้องตลาด
โครงสร้างราคา
คำนวณโดย ต้นทุน บวกกับ กำไรที่ต้องการต้นทุนประกอบด้วย
- ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าส่วนแบ่งช่าง ค่าวัสดุ แชมพู น้ำยาสระ ย้อมผม
- ต้นทุนคงที่จัดสรร เช่น ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์
การบริหาร/การจัดการโครงสร้างองค์กร
ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1. ด้านการบริหาร รับผิดชอบด้านการเงิน บัญชี จัดซื้อ บุคคล ธุรการ ดูแลความสะอาดของร้าน ต้อนรับลูกค้า และบริหารงานทั่วไป
2. ด้านการให้บริการ
2.1 การให้บริการตัดผม แต่งผม ไดร์ผม และอื่นๆ โดยช่างตัดผม
2.2 การให้บริการสระผม โดยช่างหรือผู้ช่วยช่าง หรือพนักงานสระผม
พนักงานและการอบรมพนักงาน
พนักงาน
1. พนักงานประจำ เพื่อทำงานทั่วไปด้านการเก็บเงิน ต้อนรับลูกค้า ทำความสะอาด เป็นต้น โดยจำนวนจะขึ้นไปขนาดของร้าน
2. ช่างตัดผม จะมีทั้งพนักงานประจำและพนักงานรายวัน โดยแบ่งเปอร์เซ็นจากค่าบริการที่เรียกเก็บกับลูกค้า
การอบรมพนักงาน
โดยปกติจะไม่มีการฝึกอบรมช่าง แต่จะเน้นการฝึกอบรมด้านการให้บริการ เลือกบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการ
วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรคข้อดีและข้อด้อย
ข้อดี
1. เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
2. เน้นในด้านความรู้หรือประสบการณ์ด้านตัดผม
3. ลงทุนต่ำ เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย
4. ธุรกิจค่อนข้างมั่นคง มีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง
ข้อด้อย
1. ช่างฝีมือดีหายาก และอัตราการเปลี่ยนงานสูง
2. ทำเลที่ตั้งที่ดี มีอัตราค่าเช่าสูง ทำให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม
โอกาสและอุปสรรค
โอกาส
1. เป็นบริการที่ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีความจำเป็นต้องใช้บริการ
2. ผู้ใช้บริการเน้นความสำคัญกับบุคลิกและการแต่งตัวมากขึ้น ทำให้พิถีพิถันในการเลือกใช้บริการร้านที่สามารถให้บริการที่ดี
3. ร้านขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถตั้งอยู่ย่านชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก
4. ชาวต่างชาติไม่สามารถประกอบอาชีพตัดผมได้โดยเสรี
อุปสรรค
1. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีผู้ตกงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง
2. มีการแข่งขันสูง เนื่องจากสามารถประกอบกิจการได้โดยง่าย
3. ในย่านที่สำคัญและในศูนย์การค้า หาสถานที่ตั้งยากและอัตราค่าเช่าสูง
ข้อเสนอแนะ
ด้านการบริหารจัดการ
1. ต้องมีความรู้พื้นฐานในธุรกิจให้บริการของตนเอง และติดตามความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. ต้องมีความเป็นผู้นำและพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3. ส่งเสริมและให้โอกาสพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในลักษณะแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้
4. ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
5. ให้ผลตอบแทนและสิ่งจูงใจที่เหมาะสมเพื่อให้แรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานของพนักงาน
6. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเสนอความคิดเห็น มีความรักและภักดีต่อองค์กร
7. ดำเนินการให้ถูกต้องต่อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
8. จัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
9. ต้องให้ความสำคัญและเวลากับการบริหารอย่างใกล้ชิด
ด้านการตลาด
การบริการและสถานที่ให้บริการ
การบริการ
1. ให้บริการที่ดีและเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
2. สร้างตราหรือเครื่องหมายเพื่อให้ลูกค้าระลึกถึงและจดจำได้ง่าย
3. สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
สถานที่ให้บริการ
1. ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย, สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม สะดวกต่อการติดต่อ เดินทางสะดวก
การส่งเสริมการขาย
1. ทำป้ายโฆษณาหน้าสถานบริการให้สะดุดตา
2. ทำโบว์ชัว แผ่นพับ แนะนำบริการ แจกแก่กลุ่มเป้าหมาย
ด้านบัญชีและการเงิน
1. ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2. มีโครงสร้างเงินลงทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป
3. บริหารการเงินอย่างเหมาะสมให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4. นำกำไรจากการดำเนินงานเป็นเงินทุนสำรองหรือสำหรับการขยายธุรกิจ
5. แยกบัญชีระหว่างธุรกิจและส่วนตัวเพื่อสามารถควบคุมและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ถูกต้อง
6. ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง
7. นำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร
หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
โทร 0-2547-5954-5 โทรสาร 0-2547-5954
ปัจจุบัน ร้านตัดผม ให้บริการ ตัดผม และ เสริมสวย ทั้งบุรุษและสตรีครอบคลุมถึงการ ออกแบบผม ตัดผม สระผม ซอยผม ย้อมผม และการ เสริมสวย อื่นๆ โดยเน้นการ ตกแต่งร้านเข้ากับสมัยนิยม
วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน
ผู้ประกอบธุรกิจร้านตัดผมประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ประเภทนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
กรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ต่างจังหวัด ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน 1,000 บาท- ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก คนละ 200 บาทจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 – 25,000 บาท- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000 – 250,000 บาท ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา
-ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
-ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94)
-หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
นิติบุคคล
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
-ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51)
-หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30
ภาษีป้าย
ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หากมีการรับจ้างแต่งเล็บ หรือแคะหู
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานเขตที่ตั้งสถานประกอบการ
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือ สำนักงานสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดูแลเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ
ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ใบอนุญาตให้ตั้งหรือใช้สถานที่เป็นที่รับจ้างแต่งผม และให้เป็นผู้รับจ้างแต่งผมสถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ สำนักงานหรือเขตที่ตั้งสถานประกอบการ
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือ สำนักงานสุขาภิบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดูแลเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ
ค่าธรรมเนียม สถานที่ตัดผม 20 – 200 บาท ผู้รับจ้างตัดผม 20 บาท การปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการ
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจบริการตัดผมและเสริมสวย ต้องปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการให้เห็นชัดเจนในที่เปิดเผย ณ สถานที่ตั้ง การฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทนอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
รายละเอียดการลงทุน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกเป็น
-ตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน อัตราส่วนร้อยละ 45
-เครื่องมือและอุปกรณ์ในร้านตัดผม อัตราส่วนร้อยละ 17 ประกอบด้วย เครื่องอบไอน้ำ เครื่องอบผม ไดร์เป่าผม กรรไกรตัดผม ปัตตาเลี่ยน เป็นต้น
-เงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนร้อยละ 38 ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุสำหรับบริการลูกค้า เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า เป็นต้น
อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ทำเลที่ตั้ง และความสามารถในการบริหารธุรกิจ ข้อมูลเฉลี่ยจากการสำรวจ ผู้ประกอบการมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายรับ ร้อยละ 18.24 กำไรสุทธิต่อเงินลงทุน ร้อยละ 48.07 ต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.8 ปี
การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
ปัจจัยการตั้งราคา ประกอบด้วย
- ต้นทุน
- ทำเลที่ตั้ง
- ค่าบริการของร้านตัดผมในระดับเดียวกันในท้องตลาด
โครงสร้างราคา
คำนวณโดย ต้นทุน บวกกับ กำไรที่ต้องการต้นทุนประกอบด้วย
- ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าส่วนแบ่งช่าง ค่าวัสดุ แชมพู น้ำยาสระ ย้อมผม
- ต้นทุนคงที่จัดสรร เช่น ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์
การบริหาร/การจัดการโครงสร้างองค์กร
ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1. ด้านการบริหาร รับผิดชอบด้านการเงิน บัญชี จัดซื้อ บุคคล ธุรการ ดูแลความสะอาดของร้าน ต้อนรับลูกค้า และบริหารงานทั่วไป
2. ด้านการให้บริการ
2.1 การให้บริการตัดผม แต่งผม ไดร์ผม และอื่นๆ โดยช่างตัดผม
2.2 การให้บริการสระผม โดยช่างหรือผู้ช่วยช่าง หรือพนักงานสระผม
พนักงานและการอบรมพนักงาน
พนักงาน
1. พนักงานประจำ เพื่อทำงานทั่วไปด้านการเก็บเงิน ต้อนรับลูกค้า ทำความสะอาด เป็นต้น โดยจำนวนจะขึ้นไปขนาดของร้าน
2. ช่างตัดผม จะมีทั้งพนักงานประจำและพนักงานรายวัน โดยแบ่งเปอร์เซ็นจากค่าบริการที่เรียกเก็บกับลูกค้า
การอบรมพนักงาน
โดยปกติจะไม่มีการฝึกอบรมช่าง แต่จะเน้นการฝึกอบรมด้านการให้บริการ เลือกบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการ
วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรคข้อดีและข้อด้อย
ข้อดี
1. เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
2. เน้นในด้านความรู้หรือประสบการณ์ด้านตัดผม
3. ลงทุนต่ำ เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย
4. ธุรกิจค่อนข้างมั่นคง มีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง
ข้อด้อย
1. ช่างฝีมือดีหายาก และอัตราการเปลี่ยนงานสูง
2. ทำเลที่ตั้งที่ดี มีอัตราค่าเช่าสูง ทำให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม
โอกาสและอุปสรรค
โอกาส
1. เป็นบริการที่ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีความจำเป็นต้องใช้บริการ
2. ผู้ใช้บริการเน้นความสำคัญกับบุคลิกและการแต่งตัวมากขึ้น ทำให้พิถีพิถันในการเลือกใช้บริการร้านที่สามารถให้บริการที่ดี
3. ร้านขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถตั้งอยู่ย่านชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก
4. ชาวต่างชาติไม่สามารถประกอบอาชีพตัดผมได้โดยเสรี
อุปสรรค
1. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีผู้ตกงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง
2. มีการแข่งขันสูง เนื่องจากสามารถประกอบกิจการได้โดยง่าย
3. ในย่านที่สำคัญและในศูนย์การค้า หาสถานที่ตั้งยากและอัตราค่าเช่าสูง
ข้อเสนอแนะ
ด้านการบริหารจัดการ
1. ต้องมีความรู้พื้นฐานในธุรกิจให้บริการของตนเอง และติดตามความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. ต้องมีความเป็นผู้นำและพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3. ส่งเสริมและให้โอกาสพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในลักษณะแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้
4. ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
5. ให้ผลตอบแทนและสิ่งจูงใจที่เหมาะสมเพื่อให้แรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานของพนักงาน
6. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเสนอความคิดเห็น มีความรักและภักดีต่อองค์กร
7. ดำเนินการให้ถูกต้องต่อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
8. จัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
9. ต้องให้ความสำคัญและเวลากับการบริหารอย่างใกล้ชิด
ด้านการตลาด
การบริการและสถานที่ให้บริการ
การบริการ
1. ให้บริการที่ดีและเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
2. สร้างตราหรือเครื่องหมายเพื่อให้ลูกค้าระลึกถึงและจดจำได้ง่าย
3. สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
สถานที่ให้บริการ
1. ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย, สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม สะดวกต่อการติดต่อ เดินทางสะดวก
การส่งเสริมการขาย
1. ทำป้ายโฆษณาหน้าสถานบริการให้สะดุดตา
2. ทำโบว์ชัว แผ่นพับ แนะนำบริการ แจกแก่กลุ่มเป้าหมาย
ด้านบัญชีและการเงิน
1. ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2. มีโครงสร้างเงินลงทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป
3. บริหารการเงินอย่างเหมาะสมให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4. นำกำไรจากการดำเนินงานเป็นเงินทุนสำรองหรือสำหรับการขยายธุรกิจ
5. แยกบัญชีระหว่างธุรกิจและส่วนตัวเพื่อสามารถควบคุมและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ถูกต้อง
6. ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง
7. นำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร
หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
โทร 0-2547-5954-5 โทรสาร 0-2547-5954
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น