บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจอาหารเสริม มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

ธุรกิจอาหารเสริม มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

        พูดก็พูดนะครับ ธุรกิจอาหารเสริมเนี่ยผมว่ามันเหมาะกับตลาดพวกคนมีเงินเเละพวกที่ร่างกายไม่เเข็งเเรงครับ ซึ่งกลุ่มนี้ผมว่ามันเล็กๆมากๆครับ เเละราคาอาหารเสริมดีๆนี่ก็เเพงมาก สำหรับยี่ห้อดังๆอะนะครับ ของเค้าดีหรือเปล่าก็ดีนะครับ เเต่ต้นทุนกว่าครึ่งหมดไปกับค่าการตลาดมากกว่าครับ เเละ เดี๋ยวนี้คนมีความรู้มากขึ้นผมว่ายากที่จะขายเเล้วรวยเพราะอย่างที่เรารู้กันคุณกินอาหาร เปลี่ยนเรื่อยๆ เเละเพิ่ม นมกับผลไม้ เเละออกกำลังกายอยู่บ้านนิดหน่อยวิดพื้น ฟิตอัพ วิ่งเยอะๆ ซักหน่อยเเค่นี้อาหารเสริมก็ไม่จำเป็นเเล้วหละครับ



เเต่เรามาดูจุดเเข็งจุดอ่อนธุรกิจนี้กันครับ


S : จุดแข็ง

1.ตลาดสุขภาพมีกำลังซื้อสูงมากและไม่ถูกกระทบกับภาวะเศรษฐกิจภายนอก เรียกได้ว่า จะจนจะรวยวยังไง เศรษฐกิจจะแย่ยังไง ตลาดสุขภาพก็ยังคงมีกำลังซื้อมหาศาลอยู่ดี

2.Trend การดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นมาก growth สูงขึ้นเรื่อยๆ บุคคลสาธารณะให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง ดังนั้น จึงเกิดค่านิยมเลียนแบบเกิดขึ้น

3.การเข้าถึงสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญในการค้นหาข้อมูล จึงทำให้ข้อจำกัดด้านการหาข้อมูลสุขภาพลดลง ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการทางด้านสาธารณสุขเท่านั้นที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล เพียงมี computer ในมือ ก็สามารถเลือกสรรอาหารเสริมให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคได้                                                                                                                                                    


W : จุดอ่อน

1.ปัจจุบันอาหารเสริมมีหลากหลายยี่ห้อ บ้างก็เป็นของเก๊ หรือย้อมแมวขาย โดยเอาเรื่องของการทำธุรกิจมาล่อ ดังนั้น มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย ที่ร้องยี้เมื่อพูดถึงอาหารเสริมสุขภาพ เรียกได้ว่า ปลาตายตัวเดียว เหม็นไปทั้งฆ้อง

2.อาหารเสริมมีราคาสูง บางทีคำว่า อาหารเสริม คือ Added Value ซึ่งบวกค่า Commission เข้าไปเยอะเกินราคาต้นทุนจริง ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้นที่มีกำลังซื้อ ซึ่งค่าการตลาดนี้เอง ทำให้ราคาอาหารเสริมที่ไม่แพง (แต่เป็นต้นทุนจริง) ถูกมองว่าเป็นสินค้าด้อยคุณค่า



O : โอกาส

1.ถ้ามองต้นแบบของการดูแลสุขภาพ เช่น ประเทศจีน จะเห็นได้ว่า ตลาดการบริโภคอาหารเสริมของคนไทย เทียบกับจีนไม่ได้แม้แต่น้อย ฉะนั้น ถ้าหากจับกลุ่มผู้บริโภค หรือหาสินค้าได้ตอบโจทย์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำด้านนี้

2.ความสวยงาม อายุที่ร่วงโรย คือ โอกาสสำคัญ เพราะคนแก่ลงทุกวัน ฉะนั้นอาหารเสริมที่เน้นการซ่อมแซม แล้วคุณภาพดีจริง ผู้ที่มีความชราภาพ ก็เต็มใจที่จะซื้อไปบริโภค


T : ข้อจำกัด

1.นโยบายของรัฐบาล : 30 บาท รักษาทุกโรค ทำให้ประชาชน เดินเข้าไปขอ วิตามินบำรุงสุขภาพจากโรงพยาบาลของรัฐ

2.สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ : ความแปรปรวนทางธรรมชาติ มีผลโดยตรงต่อการผลิต Raw Material ของสินค้าบางชนิด



วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ


STEP 1: การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

     โดยปรกติแล้ว การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ถือเป็นความฝันของนักธุรกิจทุกคน ใคร ๆก็ย่อมอยากนำเงินสกุลอื่น ๆเข้าประเทศ คิดดูง่าย ๆว่าประชากรไทยมี 60 ล้านคน แต่ประชากรทั่วโลกมีหลายพันล้านคน ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ขายไม้จิ้มฟันให้คนจีนก็รวยล้นฟ้าแล้วครับ

     ที่ผมพูดมานี่คือความฝันของคนทั่วไป ที่ยังคงไม่ตื่นจากภวังค์ การมีเป้าหมายถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว วันนี้ผมถามคุณว่า หากคุณต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คุณต้องทำเช่นไร หลายคนคิดอยู่นาน แต่สุดท้ายก็ไม่มีคำตอบ เพราะ ณ ปัจจุบันผมมองเห็นแค่ 2 วิธีที่ดีสุดในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คือ

      1. ออกงานแฟร์ตามประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายของเรา

      2. เปิดเว็บไซต์ และหาลูกค้าโดยการโปรโมตสินค้าของเราทางอินเตอร์เน็ต

     หากคุณเลือกใช้วิธีแรก คุณจำเป็นต้องลงทุนสูงมาก โดยหวังว่าผลตอบแทนจะกลับมาในรูปแบบของออเดอร์ใหญ่หรือลูกค้าประจำ ซึ่งอาจจะต้องใช้การคาดหวังสูง และความเสี่ยงสูงเช่นกัน

      แต่หากคุณเลือกวิธีการเปิดเว็บไซต์และหาลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ International Trade เช่น Alibaba.com, ebay.com, tradeindia.com or Globalsources.com คุณจะเสียค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมตน้อยมาก ๆ หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว หากคุณทำเป็น

     ดังนั้น สิ่งที่ผมจะสรุปก็คือ เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะทำตลาดอย่างไร มหาเศรษฐีโลกอย่าง บัฟเฟตต์เลือกที่จะทำธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร แต่ต้องมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัว หากเรายังเลือกทำธุรกิจที่เหมือนชาวบ้าน เราก็อาจจะล้มเหลวเหมือนคนส่วนใหญ่ (ผลวิจัยของธุรกิจ SME ประเทศไทย วิเคราะห์ออกมาว่า 90% ของธุรกิจขนาดเล็กปิดตัวภายในปีแรกที่ทำ)

     ดังนั้น การทำธุรกิจที่ไร้ความเสี่ยง แต่ต้องใช้ความพยายามที่จะเรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างธุรกิจออนไลน์ ถือเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จที่น่าศึกษาและเป็นเทรนด์แห่งอนาคต

โดยขั้นตอนการส่งออกสินค้ามีดังนี้

1. การหาสินค้าและวิเคราะห์สินค้า

      หาสินค้าให้ตรงกับความต้องการ สามารถดูได้ดังนี้

      Google Insight

      Google Trend

      Google Analytics

      Google Alert

      Alexa.com

      Alibaba

      eBay

2. ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

      การศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าหรือนิสัยของลูกค้า ต้องเน้นการหาข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ไม่สามารถดูได้จากเว็บไซต์ในเมืองไทยหรือดูทีวีก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้น การหาข้อมูลของลูกค้าต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆมากมายจากต่างประเทศ รวมถึงต้องรู้พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าด้วย เช่น การซื้อขายสินค้าในไทยจะมีอิทธิพลมาจากการตลาดแบบ WOM(ปากต่อปาก) เช่น ถ้าคุณอยากไปเที่ยวที่ไหน คุณจะเข้าไปดูรีวิวเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ การที่เขาจะซื้อสินค้าสักหนึ่งชิ้น เขาจะต้องดูเรื่อง technical detail คือรายละเอียดของสินค้าหรือสเป๊คเป็นหลัก หรือลูกค้าต่างประเทศบางกลุ่มจะซื้อสินค้าผ่าน Sale Page เท่านั้น ดังนั้น การคัดเลือกลูกค้าต้องใช้หลักของ Me Too คือ ศึกษาว่าผู้ขายส่วนใหญ่ทำเช่นไร เราก็ทำตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการผิดพลาดครับ

 3. วิธีการโปรโมตสินค้าให้เข้าถึงลูกค้า

      การทำตลาดถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนุกที่สุด และก็เป็นสิ่งที่ผู้ขายชาวไทยอ่อนที่สุดด้วยเช่นกัน สังเกตจากผู้ขายชาวไทยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาเว็บไซต์เสียเงินค่าธรรมเนียมเช่น ebay, ioffer, amazon เพื่อให้ขายสินค้าได้ แต่กลับไม่เลือกที่จะเปิดเว็บไซต์ส่วนตัวและโปรโมตแบบกลยุทธ์เหยียบไหล่ยักษ์(ฝากตามเวปดังๆ) ซึ่งถือเป็นวิธีการทำตลาดที่ยั่งยืนที่สุด ดังนั้น การโปรโมตสินค้าถือเป็นสิ่งที่คนไทยต้องฝึกฝนและอัพเดตความรู้ให้มากกว่านี้ โดยการโปรโมตสินค้า สามารถทำได้หลัก ๆดังนี้

      SEO

      Classified Marketing

      Email Marketing

      Facebook Marketing

      Twitter

      WOM Board

      PPC

 4. เทคนิคการปิดการขาย

     สิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจคือ SPEED ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะทำสิ่งใดก็ตาม หากคุณสามารถตัดสินใจได้เร็วกว่า ลงมือทำก่อนคนอื่น ขยันกว่าคนอื่น ทำงานเร็วกว่าคนอื่น และไม่ครวญครางกับอดีต ไม่ฝันถึงอนาคต ลงมือทำในวันนี้ให้ดีที่สุด ท่านก็จะไม่มีทางพบกับความล้มเหลวในชีวิต

     คำว่า SPEED ในความหมายของผม คือคุณต้องตอบอีเมล์ทุกฉบับของลูกค้าภายใน 12 ชม. และส่งของให้ลูกค้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าลืมนะครับ การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องมีลูกค้าประจำให้มากที่สุด เพราะรายได้หลักของบริษัทจะมาจากลูกค้าเหล่านี้นะครับ



5. ติดต่อชิบปิ้ง และส่งออกสินค้า

     สำหรับการส่งสินค้าสามารถเลือกได้ 2 ประเภท ก็คือทางอากาศและทางทะเล ซึ่งจะเรียกว่าAir Freight & Sea Freight หากสินค้าเป็นสินค้าชิ้นเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม ควรเลือกส่งทางเครื่องบิน แต่หากน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัมหรือเท่ากับไซส์หนึ่งคิวบิดเมตรให้เลือกส่งเรือ อย่างไรก็ตาม หากสินค้าน้ำหนักอยู่ระหว่าง 20 – 50 กรัม จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าว่าจะส่งเรือหรืออากาศ เนื่องจากการส่งทางเรือจะกินเวลาในการส่งค่อนข้างนาน แต่หากส่งทางเครื่องบินจะใช้เวลาเร็วกว่ามาก โดยส่วนมากหากเป็นสินค้าตัวอย่าง ลูกค้ามักจะเลือกส่งทางอากาศเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าไม่เยอะ และต้องการเห็นสินค้าตัวอย่างเร่งด่วน


 STEP 2: การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

หลายคนคงจะคิดเหมือนผมว่า หากเราต้องการส่งออกสินค้า เราสามารถไปกรมส่งเสริมการส่งออกได้ แต่หากต้องการนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศไทย ทำไมไม่มีกรมส่งเสริมการนำเข้าบ้าง คำตอบนี้ตอบไม่ยากครับ รัฐบาลไทยส่งเสริมการส่งออกสินค้ามาก ๆ เพราะถือว่าการส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศเป็นการนำเงินเข้าประเทศหรือเรียกง่าย ๆว่าได้ดุลการค้าจากต่างชาตินั่นเอง สังเกตุว่าช่วงหลังมานี้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกในอนาคต ด้วยเหตุผลที่ว่า ประเทศจีนได้ดุลการค้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญของโลก ดังนั้นการที่ประเทศใด ๆ มีการนำเข้าสินค้ามากกว่าการส่งออกสินค้า ถือได้ว่าขาดดุลการค้า ซึ่งการจะป้องกันการเสียดุลการค้า สามารถทำได้โดยตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าให้สูง จะทำให้ราคาสินค้านำเข้าแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศนั่นเอง

     แต่อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาขายในไทย ถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลายคนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายสินค้าในประเทศไทย เนื่องจากสินค้าต่างประเทศจะมีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ สินค้านำเข้าส่วนมากจะราคาถูกและคุณภาพดี ซึ่งเกิดจากความเชี่ยวชาญของผู้ขายในการคัดเลือกสินค้าและต่อรองกับซัพพลายเออร์ต่างประเทศ ทำให้ได้ของดี ราคาถูกนั่นเอง



โดยขั้นตอนการนำเข้าสินค้ามีดังนี้

1. การหาสินค้า และวิเคราะห์พิกัดภาษีนำเข้า

     สำหรับการนำเข้าสินค้า ทุกคนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนการนำเข้าของกรมศุลกากรทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดขั้นตอนการนำเข้าได้ด้วยการใช้บริการบริษัทชิบปิ้งที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่ต้องระวังการเลือกใช้ชิบปิ้งให้มาก เนื่องจากชิบปิ้งแต่ละเจ้ามีวิธีการนำเข้าที่ไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะคิดค่าบริการถูก แต่มีปัญหาตามหลัง บางรายไม่ได้เป็นมืออาชีพก็จะทำให้สินค้าเราสูญหายหรือชำรุดได้

     สำหรับการหาสินค้า เราต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็แสนยาก เนื่องจากเราไม่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆในเมืองไทยได้ เช่น หากเราต้องการจะรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในต่างประเทศ เราสามารถใช้ Google Insight ได้ แต่ในเมืองไทย คุณไม่สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ ดังนั้น การหาสินค้าให้แม่นยำ 100% เพื่อนำมาขายในประเทศไทยนั้น ถือว่ายากกว่าการทำตลาดในต่างประเทศค่อนข้างมากครับ

2. ติดต่อชิบปิ้งเพื่อนำเข้าสินค้า

      การคัดเลือกบริษัทชิบปิ้งเพื่อนำสินค้าเข้าเมืองไทย ต้องพิถีพิถันในการเลือกค่อนข้างมาก เพราะต้องราคาถูกและไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะสินค้าบางชนิด ต้องนำเข้าในลักษณะพิเศษ ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาอย่างละเอียดก่อนใช้บริการชิบปิ้งใด ๆ

3. การสร้างเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า

     หากต้องการทำตลาดในประเทศไทย คุณจำเป็นต้องมีเว็บไซต์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของผู้ขาย ซึ่งถ้าคุณสร้างเว็บไซต์ไม่เป็นหรือไม่อยากเสียเงินจ้างทำเว็บไซต์แพง ๆ คุณก็อาจใช้บริการของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งก็ถือว่าง่ายและสะดวกสำหรับการทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถปรับเว็บไซต์ได้ตามใจเรา แต่ก็ประหยัดงบประมาณและสามารถสร้างเว็บไซต์ได้เร็วทันใจและเริ่มทำธุรกิจได้ทันที

4. วิธีการทำตลาดในประเทศไทยผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

     ก่อนอื่นเลย เราต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าชาวไทยก่อน โดยคนไทยส่วนใหญ่นิยมหาสินค้าผ่านทาง Google.com, Classified Website, Webboard และ Facebook ตามลำดับ โดยเราจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิธีการทำตลาดในแต่ละรูปแบบให้เชี่ยวชาญ  เนื่องจากปัจจุบันการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และเป็นที่ยอมรับของเหล่านักช็อป เนื่องจากง่าย ประหยัดเวลา ราคาถูกและสะดวก ดังนั้น การศึกษาการตลาดแต่ละชนิด ถือว่าเป็นหัวใจของความสำเร็จ ซึ่งเราควรจะใส่ใจให้มาก ๆ

5. วิธีการโอนเงินและส่งสินค้า

      การปรับทัศนคติของผู้ขาย ในเรื่องของการโอนเงินถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ขายหลาย ๆคนไม่มั่นใจว่าคนซื้อจะกล้าโอนเงินให้จริง ๆหรือ จะเช็คยอดเงินกับธนาคารอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าเราเป็นผู้ขายที่ดี เราจะตั้งราคาค่าจัดส่งอย่างไรให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่เรื่องของการชำระเงินแต่เป็นทำอย่างไรให้ขายดีต่างหาก

ที่มา http://www.thebiz.in.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539410751

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดประสงค์การเรียนรู้ (ปลายทาง)            

   ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในความหมายและบอกประเภทของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้ สามารถคำนวณและบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง

จุดประสงค์การเรียนรู้ (นำทาง)

1.  อธิบายความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.  บอกประเภทของผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
3.  อธิบายภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้
4.  บอกประเภทเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้              
5.  คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
6.  บันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้
7.  ฝึกผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อน และคนรอบข้าง
สาระสำคัญ
1.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจาการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการภายในประเทศ หรือมาจากต่างประเทศ โดยเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่
2.1     ผู้ประกอบการ
2.2    ผู้นำเข้า
2.3    ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4    กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร3.    ในปัจจุบัน (พ.ศ.  2550) อัตรา
           ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ  หรือ  ได้รับคืน  =    ภาษีขาย  -   ภาษีซื้อ
 5.   ภาษีซื้อ  คือ ภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ  ภาษีซื้อเกิดขึ้นเดือนไหน ให้ถือเป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

6.   ภาษีขาย  คือ  ภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  ภาษีขายเกิดขึ้นเดือนไหน  ก็ให้ถือเป็นภาษีขายของเดือนนั้น

7.   หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จัดทำใบกำกับภาษี  รายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม  และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนภายในวันที่  15  ของเดือนถัดไป

 เนื้อหา1.    ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม2.    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม3.    ภาษีซื้อ  ภาษีขาย   ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม4.    เอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม5.    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม6.    การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม     อรุณี  อย่างธารา และคณะได้กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  (Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า  VAT)  คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล            ผกาพรรณ  พรหมสาขา ณ สกลนคร ให้ความหมายภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ  ผู้นำเข้า  โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ  และคณะ กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า      ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอน               การผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยส่วนที่เก็บเพิ่มนั้นเรียกว่า  “มูลค่าเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ   ที่เป็นคนสุดท้าย รวมถึงการเก็บภาษีทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ จากนั้นผู้ประกอบการจะนำภาษีที่เก็บได้ส่งให้กับสรรพากรทุกเดือน              

สรุป   ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร

2.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม        เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และ  วรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึง ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า     ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นแบบเต็มรูป  คือ  จะครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต  การค้าส่ง  และการค้าปลีก  ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก  ผู้ผลิตสินค้า  ผู้ให้บริการ  ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก  ตลอดจนผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออก  ไม่ว่าจะประกอบการในรูปแบบบุคคลธรรมดา  คณะบุคคล  ห้างหุ้นส่วน  บริษัทจำกัด  หรือนิติบุคคลใดก็ตาม                ระดับรายได้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณากำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ดังนี้1.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้ระหว่างปีละ  600,000  ถึง  1,200,000  บาท  มีสิทธิเลือกว่าจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ  1.5  จากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรืออัตราร้อยละ  7  โดยคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อก็ได้2.   ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกินกว่า  1,200,000  บาท  ต้องเข้าสู่ระบบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการไปจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม     ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่ถึงปีละ  600,000 บาท  แต่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ย่อมจะทำได้โดยขอจดทะเบียนเข้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มครบวงจรและผู้ประกอบการไม่ต้องแบกภาระภาษีเองด้วยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 82  กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  คือ       1.   ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ

เป็นปกติธุระไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา  คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ  หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า  1.8   ล้านบาทต่อปี  มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน      2.   ผู้นำเข้า  หมายถึง  ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร   ไม่ว่าเพื่อการใดๆ  และให้ความหมายรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออก  3.  บุคคลที่กฎหมายกำหนดเป็นกรณีพิเศษให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  บุคคลดังต่อไปนี้   เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย  คือ                     3.1   ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ตัวแทนดังกล่าว  3.2   ในกรณีขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ  0    ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ  ทบวง  การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ  สถานเอกอัครราชทูต  สถานทูตสถานกงสุลใหญ่  สถานกงสุล  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการดังกล่าว                         3.3    ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร  ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ (ก)  ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร                                 (ข)  ผู้รับโอนสินค้า  ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว      3.4   ในกรณีที่การควบกิจการเข้ากัน  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่    3.5    ในกรณีโอนกิจการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่  ผู้โอนและผู้รับโอน 3.  ภาษีซื้อ  ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม                    เชาวลีย์  พงศ์ผาติโรจน์  และวรศักดิ์  ทุมมานนท์  กล่าวถึงภาษีซื้อ ภาษีขาย  ฐานภาษีและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  ไว้ว่า                                        ภาษีขาย    คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ  เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามฐานภาษีและอัตราภาษีที่กำหนดนอก

ที่มา http://nuntry.exteen.com/20080827/entry

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาษีป้ายร้านค้าที่ควรรู้ก่อนทำกิจการ

ภาษีป้ายร้านค้าที่ควรรู้ก่อนทำกิจการ


1. ความรู้ทั่วไป

    1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี

    ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

    1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี

        (1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ

        (2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

        (3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

        (4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์

        (5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่

รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตาม

กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์

        (6) ป้ายของราชการส่วนกลาง   ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

        (7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วย

การนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ

        (8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการ

สหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

        (9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน  ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษา

เอกชนนั้น

        (10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน

        (11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

        (12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

        (13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535)

ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ

        (ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถ

  แทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

        (ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน

        (ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

    1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย   แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดง

รายการภาษีป้าย  (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้น

เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้น

ติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคล

ดังกล่าว

    1.4 กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ

ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทย

กำหนด ภายในเดือนมีนาคมของปีให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือ

แสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละสามเดือน

ของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี ทั้งนี้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตรต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้าย เป็นตัวอักษร

ไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้ายและให้ข้อความดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีป้าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย ให้ตัวแทน หรือผู้แทนในประเทศ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทน

เจ้าของป้าย ถ้าเจ้าของป้ายตาย เป็นผู้ไม่อยู่เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถให้

ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี

มีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย เจ้าของป้ายผู้ใด

        (1) ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม ให้เสียเป็นรายงวด

        (2) ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ ข้อความ ภาพและเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้าย

เดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว ป้ายชำรุดไม่ต้องชำระเฉพาะปีที่ติดตั้ง

        (3) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว

อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม   ป้ายที่เพิ่มข้อความชำระตามประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่มป้ายที่ลดขนาดไม่ต้อง

คืนเงินภาษีในส่วนที่ลด ถ้าเปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่ ให้เจ้าของป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความ ภาพ หรือ

เครื่องหมายป้ายเดิมแล้วแต่กรณี

    1.5 ฐานภาษีและอัตราภาษี

ฐานภาษีและอัตรา คือเนื้อที่ของป้ายและประเภทของป้ายรวมกัน ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ การคำนวณ

พื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขตของป้าย ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือเอาตัว

อักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณเป็นตาราง

เซนติเมตร เศษของ 500 ตารางเซนติเมตรถ้าเกินครึ่ง ให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง ประกอบกับ

ประเภทของป้าย คำนวณเป็นค่าภาษีป้ายที่ต้องชำระ โดยกำหนดอัตราภาษีป้ายดังนี้

        (1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

        (2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา

           20 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

        (3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

              (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด หรือไม่

              (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

        (4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว

           อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสีย

           เฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

        (5) ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้

           เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

2. ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี

    ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่สำนักงานเขตโดยไม่คิดมูลค่า

กรอกรายการในแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อของตนพร้อมวันเดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าที่

แห่งท้องที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ ทั้งนี้จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ลง

ทะเบียนก็ได้ ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ สำหรับป้ายที่แสดงไว้ที่ยานพาหนะที่ต้องเสียภาษี ให้ยื่น ณ สำนักงาน

เขตซึ่งการจดทะเบียนยานพาหนะได้กระทำในท้องที่นั้น

    2.1 เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ

กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่

    - ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย

    - สำเนาทะเบียนบ้าน

    - บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

    - กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท,ทะเบียน

      พาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20

    - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)

    - หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

    กรณีป้ายเก่า ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้า

    ของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1

    2.2 การชำระภาษี

ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการ

ประเมินโดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขต ซึ่งป้ายนั้นตั้งอยู่หรือที่กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

(เสาชิงช้า) การชำระภาษีป้ายจะกระทำโดยส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่กรุงเทพมหานครก็ได้ โดย

ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย

    2.3 การขอผ่อนชำระภาษี

ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละ

เท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่

หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่สามภายใน

หนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง

    2.4 เงินเพิ่ม

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้

        (1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่

ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึง

การละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

        (2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสีย

เงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูก

ต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน

        (3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสีย

ภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม

    2.5 การอุทธรณ์

เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์

การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่น

แบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน  ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์

ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุ

อันสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้

เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์

หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณี

ที่เป็นการยกอุทธรณ์ดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีป้าย เว้นแต่จะได้รับ

อนุมัติจากผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครว่าให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลเสียก่อน

    2.6 การขอคืนเงินค่าภาษี

ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มี

หน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็วเพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้อง

เสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระเงินค่าภาษี

    2.7 บทกำหนดโทษ

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยาน

หลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับ

ตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่

ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท ผู้ใดไม่ปฏิบัติดังนี้คือป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตร

ต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งร้อยบาทเรียง

รายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายคือให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนเป็นหนังสือต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับโอน หรือไม่แสดงการเสียภาษีป้าย (ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสีย

ภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่ให้เข้าไปในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหา

รายได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย หรือบริเวณที่ต่อเนื่องกับสถานที่ดังกล่าว หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีป้ายใน

ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้ปฏิบัติการถูกต้อง

ตามพระราชบัญญัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายมาให้

ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ภายในกำหนดเวลาอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

หกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตาม

พระราชบัญญัติเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับ

ความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น


วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความเกี่ยวกับภาษีเหล้านอก

บทความเกี่ยวกับภาษีเหล้านอก

บทความเกี่ยวกับ คมชัดลึก


          หลังจากรัฐบาลหรือกรมสรรพสามิตมีการปรับขึ้นภาษีสุรายกแผงทั้งสุราขาวและสุราสี ส่งผลให้ราคาขายปลีกมีการขยับขึ้นทั้งสุราในประเทศและต่างประเทศ จึงมีการคาดการณ์ว่าตลาดเครื่องดื่ม

          แอลกอฮอล์ในส่วนของเบียร์น่าจะมีการเติบโตสูงขึ้นมากทั้งจากราคาที่ถูกกว่าสุรา และการแข่งขันกันของภาคเอกชนที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการเปิดตัวสินค้าใหม่และการทำตลาดในเชิงรุก ส่งผลให้ตลาดสุรายิ่งมีส่วนแบ่งน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะสุรานำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการออกมาเรียกร้องขอให้รัฐบาลรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนด้วย

           นายธนากร คุปตจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมสรรพสามิตระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2552-2555 ตลาดสุรากลั่นในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มียอดการจำหน่ายถึง 583.56 ล้านลิตร ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20% จากปี 2552 ที่มียอดการจำหน่าย 486.35 ล้านลิตร ขณะที่ยอดการจำหน่ายสุรากลั่นนำเข้าเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อย

        โดยมียอดการจำหน่ายรวมอยู่ที่ 28.5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เพียง 3.66 ล้านลิตร เป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคหันไปนิยมบริโภคสุรากลั่นในประเทศที่มีราคาถูกกว่า ส่งผลให้สุรากลั่นในประเทศ ในปี 2555 มีปริมาณถึง 95.34% ส่วนสุรากลั่นนำเข้าจากต่างประเทศมีจำนวนเพียง 4.66% ของตลาดสุรากลั่นในประเทศไทยทั้งหมด

                        “จากข้อมูลของกรมสรรพสามิตจะเห็นว่าสุรากลั่นนำเข้าถือเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับสุรากลั่นในประเทศ กฎหมายหรือมาตรการภาษีต่างๆ จึงควรคำนึงถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะตามมา เช่น อัตราการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันระหว่างสุรากลั่นในประเทศและสุรากลั่นนำเข้าทำให้เกิดช่องว่างของราคา เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสุราในประเทศ ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก แต่มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงกว่า โดยเฉพาะหลังจากที่กรมสรรพสามิตปรับขึ้นภาษีสุราไปล่าสุด ยอมรับว่าสุรานำเข้าต่างประเทศมียอดขายลดลงมาก และผู้ที่เคยซื้อสุรานำเข้าที่มีราคาแพงก็หันไปซื้อสุรานำเข้าที่ถูกกว่าแทน” นายธนากร กล่าว

                        ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของกรมสรรพสามิตยังพบว่า สุราผสมในประเทศก็มีการเติบโตที่เด่นชัด เห็นได้จากรายได้จากการจัดเก็บภาษีสุราผสมในปี 2554 ที่จัดเก็บได้ถึง 1.8 หมื่นล้านบาท เทียบกับปี 2549 จัดเก็บได้เพียง 1.7 พันล้านบาท

เบียร์เจ้าตลาดกินส่วนแบ่ง74%

                        นอกจากนี้ จากการจัดเก็บภาษีของสุรากลั่นทุกประเภทดังกล่าวเทียบกับสุราแช่ ซึ่งหมายถึง เบียร์และไวน์ที่มีอัตราการจัดเก็บตามมูลค่า 60% และตามปริมาณ 100 บาทต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าสุรากลั่นที่เก็บเต็มเพดาน 400 บาทต่อลิตรและเกือบเต็มเพดานบ้าง ยกเว้นสุราขาวที่เก็บ 150 บาทต่อลิตร ทำให้ผู้บริโภคหันไปนิยมดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์กันมากขึ้น

                        ทั้งนี้ จะเห็นได้จากสัดส่วนตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ ในปี 2555 พบว่าเบียร์มีส่วนแบ่งตลาดถึง 74.30% สุรากลั่นในประเทศ หรือเหล้าขาวมีสัดส่วน 21% สุราพร้อมดื่มในประเทศ หรือ วิสกี้ 1.92% ไวน์ในประเทศ 1.20% สุรากลั่นนำเข้า 1.03% ไวน์นำเข้า 0.36%  เบียร์นำเข้า 0.17% และสุราพร้อมดื่มนำเข้า 0.17%

                        นอกจากนั้น จากข้อมูลขององค์กรต่างประเทศ IWSR สำรวจสุรากลั่นที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในโลกพบว่า โซจู ของเกาหลี มียอดขายอันดับ 1 อยู่ที่  64.5 ล้านลัง รองลงมาคือเหล้าขาวของไทยอยู่ที่  30.9 ล้านลัง และอันดับ 3 ว็อดก้า อยู่ที่  25.1 ล้านลัง

                        นายธนากรกล่าวอีกว่า สุราขาวปี 2555 เติบโตจากปี 2554 ไม่มากนัก จาก 329 ล้านลิตรเป็น 345 ล้านลิตร แต่สุราผสมโตเร็วมากจาก 181 ล้านลิตรเป็น 204 ล้านลิตร สะท้อนว่าผู้บริโภคหันไปดื่มสุราผสมในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2552 ที่รวมแล้วมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 97 ล้านลิตรหรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยด้านราคาหากเทียบกับสุรานำเข้าที่ค่อนข้างแพง โดยสุราในประเทศมีราคาตั้งแต่ 100 -520 บาท แต่สุราต่างประเทศราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 300-500 บาท ไปจนถึงหลักพันหรือหลายพันบาท

                        อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่า ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยระยะ 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า 98% ของส่วนแบ่งในตลาดเป็นสุราในประเทศทั้งเบียร์ เหล้าขาวและเหล้าสี ขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำเข้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนเพียง 1.4-1.5% โดยในปี 2555 ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตในประเทศอยู่ที่ 2,753 ล้านลิตร หรือมีสัดส่วน 98.43% ในขณะที่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำเข้าอยู่ที่ 44 ล้าลิตร หรือมีสัดส่วน 1.57%

                        ทั้งนี้ สุรากลั่นประกอบด้วย สุราสามทับ หมายถึง สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่แปดสิบดีกรีขึ้นไป ใช้สำหรับในอุตสาหกรรมและการแพทย์ สุราขาว หมายถึงสุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี ซึ่งในตลาดมีไม่กี่ยี่ห้อ สุราผสม หมายถึง สุรากลั่นที่ใช้สุราขาวหรือสุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี ซึ่งหมายถึงเหล้าสีราคาถูกที่ขายในตลาด สุราปรุงพิเศษ หมายถึง สุรากลั่นที่ใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี ในตลาดมีเพียงยี่ห้อเดียวที่เป็นเหล้าของไทย และสุดท้ายสุราพิเศษ หมายถึงสุรากลั่นที่ทำขึ้นโดยใช้กรรมวิธีพิเศษ มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรั่นดีและวิสกี้ที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด

กฎข้อบังคับใหม่มีปัญหาตีความ

                        นายธนากรกล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องของราคาที่ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าสุราต่างประเทศเสียเปรียบในแง่การเสียภาษีนำเข้าด้วยนอกเหนือจากภาษีสรรพสามิตแล้ว เรื่องของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งการโฆษณาและการจำหน่ายก็เป็นส่วนหนึ่งให้ไม่สามารถทำการตลาดได้ โดยเฉพาะการออกกฎระเบียบเพิ่มเติมล่าสุด เช่น ประกาศสำนักนายกฯ ที่ออกเพิ่มเติม มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555  เกี่ยวกับการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง บนรถโดยสาร ขณะขับขี่ หรือในรถ รวมถึงห้ามขายห้ามดื่มในบริเวณรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 และสุดท้ายประกาศที่ออกมาวันที่ 5 พฤศจิกายน 25 55 ที่ห้ามขาย ห้ามดื่ม ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน
                        พร้อมทั้งยังมีการตั้งรางวัลนำจับให้ผู้แจ้งเบาะแส 20% ของรางวัลนำจับที่สูงสุดอยู่ในระดับ 1 หมื่นบาท เจ้าหน้าที่ผู้จับได้ 40% ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ 20% และส่งคืนกระทรวงการคลังเพียง 20% แต่หากไม่มีผู้แจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่ผู้จับได้จะได้รับส่วนแบ่ง 60% และส่งเข้าคลังเพียง 40% ยิ่งเป็นการเปิดช่องให้มีปัญหาในการปฏิบัติตามและบังคับใช้ เพราะเมืองไทยเป็นระบบกล่าวหา
                        “ภาคเอกชนทุกบริษัทไม่ได้โต้แย้งเรื่องกฎหมายหรือประกาศที่ออกมาควบคุมลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่กลัวว่ากฎระเบียบที่ออกมาจะไม่ได้บังคับใช้ได้จริง ปัญหาในทางปฏิบัติและการตีความ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้บริโภคมากกว่า ส่วนบริษัทก็อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อมในแง่ของยอดขายบ้าง จึงอยากให้การออกกฎระเบียบแต่ละครั้งทางภาครัฐควรรับฟังข้อเสนอแนะความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องบ้าง” นายธนากรกล่าว

-------------------------
คอเบียร์หนาวสรรพสามิตเล็งขึ้นภาษี

                        สำหรับทางฝั่งของกรมสรรพสามิตผู้จัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสุราและเบียร์ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยได้ติดตามการจัดเก็บภาษีและการเปลี่ยนแปลงของตลาดเครื่องดื่มมึนเมาอย่างใกล้ชิด โดยนายสมชาย พูลสวัสดิ์  อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า หลังจากปรับขึ้นภาษีสุราก่อนหน้านี้เท่าที่ดูตัวเลขการจัดเก็บภาษียังไม่มีสัญญาณชี้ชัดว่าผู้บริโภคมีการเปลี่ยนพฤติกรรมจากดื่มสุราหันไปดื่มเบียร์ที่มีราคาถูกกว่าแทน เพราะน่าจะเป็นคนละตลาดและกลุ่มเป้าหมายกัน แต่จากการจัดเก็บภาษีเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่าภาษีเบียร์เพิ่มสูงขึ้นจากเป้าหมายถึงพันกว่าล้านบาท ส่วนสุราจัดเก็บได้ลดลงเล็กน้อย
                        อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าภาษีสุราที่ปรับขึ้นไปเต็มเพดานและเกือบเต็มเพดานบางตัวนั้นอาจทำให้การบริโภคลดลงชั่วคราวแต่หลังจากนี้น่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติ ยิ่งเข้าสู่ช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองนั้นยิ่งมียอดขายเบียร์ สุรามากกว่าปกติเป็นประจำทุกปี  การจัดเก็บภาษีก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
                        นอกจากนั้นกรมก็มีแนวคิดจะทบทวนกฎหมายการจัดเก็บภาษีเบียร์ด้วย เพราะขณะนี้การจัดเก็บภาษีถือว่าเต็มเพดานแล้ว เพราะถือเป็นสินค้าที่กรมไม่ได้สนับสนุนให้มีการบริโภคและนับวันตลาดยิ่งโตขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขยับเพดานภาษีขึ้นไปอีกในอนาคต อีกทั้งยังถือเป็นการขยายฐานภาษีควบคู่กันไปด้วย แต่น่าจะต้องใช้เวลาเพราะการแก้กฎหมายต้องเป็นเรื่องนโยบายผลักดันเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกับผู้ประกอบการหรือมีการกำหนดอัตราภาษีใหม่แต่อย่างใด
                        "กรมสรรพสามิตไม่ได้มีเป้าหมายจะเก็บภาษีสุรา เบียร์ ให้มากขึ้นเพราะถือเป็นสินค้าที่ไม่ส่งเสริมให้มีการบริโภค นอกจากการขึ้นภาษีมาสกัดคนกลุ่มใหม่ไม่ให้เข้ามาทดลองแล้ว การออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อทำให้การซื้อหรือการดื่มทำได้ยากขึ้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะแม้จะมีกฎระเบียบเข้มงวดขนาดไหนเชื่อว่าผู้บริโภคก็คงหาช่องทางซื้อและดื่มได้อยู่ดี  ซึ่งเป็นธรรมดาที่ผู้ประกอบการย่อมจะไม่เห็นด้วย"
                        สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา ยอมรับว่าเป็นภาษีหลักมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ โดยมีรายได้เป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 6.4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ส่วนภาษีสุราอยู่อันดับ 4 คิดเป็นเม็ดเงิน 5.3 หมื่นล้านบาท หรือมีสัดส่วนที่ 14% และมีแนวโน้มจะจัดเก็บได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-------------------------
(โอดขึ้นภาษี - ก.ม.เข้มฉุดตลาดน้ำเมา เหล้านอกจุกยอดวูบ - เบียร์ผงาดครอง 74% : ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง ... รายงาน)

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทำธุรกิจปลูกยางพารา

การทำธุรกิจปลูกยางพารา

ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
 
คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
 
เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา
ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี
หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง
สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
วิธีปลูกยางพารา
การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ
พรรณพิชญา สุเสวี
matichon
วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 450

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทำธุรกิจขายผักผลไม้

การทำธุรกิจขายผักผลไม้


      นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาดและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พรานทะเลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เตรียมบุกตลาดในครึ่งปีหลัง เพื่อผลักดันรายได้สู่เป้าหมาย 1,200 ล้านบาท หลังจาก 6 เดือนที่ผ่านมาทำยอดขาย 600 ล้านบาทตามเป้าหมาย



        โดยจะเริ่มจากการขยายธุรกิจใหม่สู่ตลาดผักสดอย่างเต็มรูปแบบ จากการทดลองตลาดเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผักสดให้กับโมเดิร์นเทรด และดิสเคาท์สโตร์ ซึ่งเห็นว่าธุรกิจผักสดมีการขยายตัวสูง ซึ่งจากการเริ่มทดลองตลาดพบว่าทำรายได้ปีละ 300 ล้านบาท ปัจจุบันยังพบว่าตลาดผักสดมีมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านบาท เป็นผลจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ความต้องการของกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร ซึ่งในเร็วๆ นี้ เตรียมขยายสู่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และเดอะมอลล์  



      บริษัทยังได้เตรียมเพิ่มช่องทางการจำหน่ายธุรกิจผักสดภายใต้แบรนด์ "พรานไพร" สู่ช่องทางจำหน่ายเทรดดิชั่นนอลเทรด คาดใช้งบลงทุนกว่า 30 ล้านบาท สำหรับอุปกรณ์ ตู้แช่ ณ จุดขาย ช่องทางดังกล่าวบริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จะทำหน้าที่เป็นผู้หาตลาด คาดว่าจะสามารถกระจายตู้แช่ได้เดือนละ 50-100 ตู้ รวม 2,500 จุดภายใน 2 ปี

     สำหรับกลุ่มโฟรเซ่นส์ฟู้ดส์ ได้เปิดตัว 3 เมนูใหม่ ประกอบด้วย ข้าวหมูแดง นครปฐม, ข้าวมันไก่ ประตูน้ำ และข้าวขาหมู บางรัก ในปีนี้บริษัทสามารถทำผลกำไรได้ในระดับที่น่าพอใจ 3-5% หลังจากได้ลงทุนสร้างแบรนด์ต่อเนื่องมากว่า 7 ปี โดยทิศทางการดำเนินธุรกิจจากนี้ไปคือ การพัฒนาธุรกิจ สร้างแบรนด์ บริหารผลกำไรให้ได้ปีละ 10% เพื่อเข้าสู่บริษัทมหาชนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า  

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลคือ

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลคือ


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้

      (1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่

               ก.   บริษัท จำกัด

               ข.   บริษัทมหาชน จำกัด

               ค.   ห้างหุ้นส่วนจำกัด

               ง.   ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

      (2)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

               ก.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)

               ข.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)

               ค.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)

               ง.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)

               จ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

               ฉ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)

      (3)   กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย

               ก.   รัฐบาลต่างประเทศ

               ข.   องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ

               ค.   นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

      (4)   กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ

               ก.   บริษัทกับบริษัท

               ข.   บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

               ค.   ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

               ง.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา

               จ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

               ฉ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ

               ช.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น

      (5)   มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล

      (6)   นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

ที่มา http://www.rd.go.th/publish/835.0.html