บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเปิดร้านขายคัพเค้ก


การเปิดร้านขายคัพเค้ก
สำหรับคนที่ชอบขนมหวาน ในช่วงนี้หลายคนคงจะไม่มีใครปฏิเสธความฮอตฮิตติดลมบนของ “คัพเค้ก” เพราะทั้งรสชาติ และรูปร่างหน้าตาที่ชวนเรียกน้ำย่อยและดึงดูดผู้คนให้ต้องเข้ามาแวะเวียนชื่นชม และซื้อรับประทานกันทั้งๆ ที่กลัวเรื่องน้ำหนัก

และสำหรับแฟนพันธุ์แท้คัพเค้กระดับพรีเมียม ไม่มีใครปฏิเสธชื่อของ Cupcakes By Jelly Jan ของทายาทไฮโซ “แจน-นวณัฐ ศรียุกต์สิริ” ซึ่งลงทุนบินไปเรียนด้านทำอาหารมาจาก Le Cordon Bleu ประเทศอังกฤษ และเมื่อกลับมาเมืองไทยก็เดินตามความฝันทำขนมคัพเค้ก อย่างที่ตัวเองชื่นชอบ แรกทำขายเฉพาะกลุ่มเพื่อน และคนรู้จักทางอินเทอร์เน็ต facebook ซึ่งผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดหน้าร้านที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 1 ชื่อว่า ร้าน Made By Jelly Jan
แจนเล่าว่า จุดเริ่มต้นของ Cupcakes By Jelly Jan เกิดมาจากตัวเองชื่นชอบในการทำขนม แต่ขนมที่รักและหลายคนชื่นชอบมากที่สุดคือ คัพเค้ก จนได้ฉายาว่าเป็น Cupcake Girl ศึกษาด้านอาหารจากสถาบัน Le Cordon Bleu กรุงลอนดอน เมื่อเรียนจบจึงตัดสินใจกลับมาเปิดร้าน Made by Jelly Jan เป็นร้านเบเกอรีสไตล์โฮมเมด ซึ่งจุดขายของร้านแน่นอนอยู่ที่คัพเค้ก

นวณัฐ ศรียุกติ์สิริ (แจน)เจ้าของร้าน
“สำหรับคัพเค้กของแจนไม่ได้เน้นเพียงรูปร่างหน้าตาเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญในเรื่องของรสชาติ ซึ่งเลือกวัตถุดิบคุณภาพดีในทุกขั้นตอนการผลิต ดังนั้น รสชาติที่ออกมารวมถึงตัวเนื้อเค้กจะเหมือนกับคัพเค้กต้นตำรับในต่างประเทศ ในขณะที่รสชาติจะมีการปรับให้ตรงกับความชอบของลูกค้าคนไทย ซึ่งปัจจุบันไม่ชอบหวานมากนัก แต่จะเน้นรสเข้มของนมและเนย และที่สำคัญคือเน้นความหลากหลายของรสชาติ จะเห็นว่าคัพเค้กของแจนจะมีหลายรส ถ้ามีเวลาก็จะคิดรสชาติใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าได้มีทางเลือกไม่รับประทานรสชาติที่ซ้ำแบบเดิม ซึ่งที่ผ่านมามีรสชาติให้ลูกค้าเลือกมากกว่า 40 สูตรเลยทีเดียว”
ในส่วนของรูปร่างหน้าตา ซึ่งโดยส่วนตัวคุณแจนชอบการแต่งหน้าคัพเค้กในแบบที่เรียบง่าย เรียกว่าเป็นสไตล์ของ Cupcakes By Jelly Jan ไปแล้ว ดังนั้น อุปกรณ์เสริมที่นำมาแต่งหน้าเค้กจึงมีไม่มาก คุณแจนบอกเราว่า เธอพยายามทำหน้าเค้กให้เข้ากับเนื้อเค้ก เมื่อกินเข้าไปแล้วให้ความรู้สึกว่ามันไปด้วยกันได้ และสามารถกินได้ทุกส่วน และด้วยความที่คุณแจนชอบการตกแต่งแบบเรียบง่าย ทำให้บางครั้ง การที่ลูกค้าจะมาสั่งทำตามแบบทางร้านจะต้องขอดูแบบก่อน ถ้าแบบยากไปก็จะไม่รับ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะซื้อตามแบบที่ทางร้านนำเสนอ แต่จะหันไปให้ความสำคัญในการเลือกรสชาติมากกว่า

อย่างไรก็ตาม คุณแจนบอกว่าไม่ได้ทิ้งเรื่องของรูปแบบเสียทีเดียว เมื่อมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศก็จะไปศึกษารูปแบบ และรสชาติมาพร้อมๆ กัน ก่อนจะนำมาลองปรับ และลองทำแบบใหม่ออกมาจำหน่าย โดยเฉพาะ ในช่วงเทศกาลวันสำคัญจะมีรูปแบบที่สอดรับกับเทศกาลออกมาจำหน่ายด้วย เช่น วาเลนไทน์ ฮัลโลวีน ฯลฯ
ในส่วนของยอดขายตอนนี้รายได้หลักมาจากการเปิดหน้าร้านที่ศูนย์การค้า การขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการออกงานแสดงสินค้า ซึ่งไม่บ่อยนัก ส่วนการขายผ่านอินเทอร์เน็ตเหมือนกับเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์แนะนำร้านมากกว่า เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะกลับมาซื้อหรือดูสินค้าที่หน้าร้านมากกว่า ส่วนรายได้จะต้องมีรายได้ต่อวันประมาณ 15,000-20,000 บาท ถึงจะอยู่ได้ ที่ผ่านมาสามารถทำได้ตามเป้า คาดว่าน่าจะคืนทุนได้ประมาณ 3 ปี การลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่การลงทุนเปิดหน้าร้านที่สยามพารากอน ใช้งบอยู่ในหลักล้านบาท
กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเด็ก เพราะรูปร่างหน้าตา และสีสันที่สดใสเด็กๆ ชอบ พอได้ซื้อกินทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ก็จะชื่นชอบ ทำให้ปัจจุบันจะมีลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มดารานักแสดงชื่นชอบ และมาเป็นลูกค้าประจำ เพราะนอกจากการขายผ่านหน้าร้าน ยังรับสั่งทำสำหรับงานเลี้ยงต่างๆ ด้วย โดยลูกค้าจะต้องสั่งไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ลูกค้าในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากการบอกกันแบบปากต่อปาก
แจนเล่าถึงแผนในอนาคตว่า มีโครงการทำส่งขายให้ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง อยู่ในระหว่างการเจรจาหาข้อสรุป และคิดชื่อแบรนด์อยู่ ซึ่งตรงนี้น่าจะทำให้สามารถขายขนมได้ปริมาณที่มากขึ้น ส่วนอายุการเก็บรักษา ถ้าอยู่ในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 4-5 วัน แต่ถ้าอยู่ภายนอกอยู่ได้ 2 วัน ราคาขายคัพเค้กหน้าร้านอยู่ที่ถ้วยละ 80-90 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบ ความยากง่ายในการตกแต่ง
โทร. 08-6787-5555
ที่มา ผู้จัดการ http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112866

การทำธุรกิจร้านทำเล็บ


การทำธุรกิจร้านทำเล็บ
ขั้นตอนการเปิดร้านทำเล็บ
หลักเกณฑ์ที่ผู้ลงทุนเปิดร้านทำเล็บควนพิจารณา มีดังต่อไปนี้
1. ทำเลที่ตั้ง มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เช่นอยู่ในชุมชนที่มีกลุ่มคนที่เป็นลูกค้าเป้าหมายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสมารถเดินทางได้สะดวก
2. ขนาดของร้าน
- ขนาดเล็ก : พื้นที่โดยประมาณ 2-8 ตารางเมตร โดยมักจะเป็นร้านที่ให้บริการเพ้นท์เล็บหรือต่อเล็บซึ่งจะใช้โต๊ะทำเล็บประมาณ 2 โต๊ะ
- ขนาดกลาง :ตั้งแต่ 12- 45 ตารางเมตร ให้บริการแบบครบวงจรได้แก่ การเสริมต่อเล็บ,การเพ้นท์เล็บ, ,สปามือเท้า,(ทำความสะอาดเล็บ) และอื่นๆ ซึ่งจะมีโต๊ะสำหรับทำเล็บตั้งแต่ 2โต๊ะขึ้นไปและมีเก้าอี้สปาตั้งแต่ 2 โต๊ะขึ้นไป
- ขนาดใหญ่ : ได้แก่ร้านทำเล็บที่มีขนาด พื้นที่ 45 ตารางเมตร ขึ้นไป ให้บริการเกี่ยวกับเล็บครบวงจรทั้งการเสริมต่อเล็บ,การเพ้นท์เล็บ,ตัดหนัง ,สปามือเท้า,(ทำความสะอาดเล็บ) และยังอาจจะมีบริการเสริมอื่นๆอีก เช่น ทำผม,นวดตัวนวดหน้า ฯลฯ
3. จำนวนเงินลงทุน
- ค่าตกแต่งร้าน ซึ่งทั่วไปการตกแต่งร้านจะใช้งบโดยประมาณ 18,000-20,000 บาท ต่อ ตารางเมตร สำหรับวงเงินในการตกแต่งร้านขนาดกลางๆ ไม่หรูหรา ค่าตกแต่งร้านขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุของผู้ลงทุน ถ้าเลือกใช้วัสดุที่มีราคาแพงจะทำให้ต้นทุนในการตกแต่งราคาสูง หากเลือกวัสดุราคาย่อมเยาจะทำให้ต้นทุนถูกลง
- ค่าอุปกรณ์การทำเล็บ
1. โต๊ะทำเล็บ 1ตัว ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ทำเล็บ ได้แก่
- กรรไกร,พู่กัน,เครื่องอบ,ตะไบฯลฯ ราคาโดยประมาณ 15,000-30,000 บาท
- วัสดุที่ใช้แล้วหมดไป เช่น สีทาเล็บ, ผงสี, น้ำยา ฯลฯ ราคาโดยประมาณ 15,000-40,000 บาท
2. เก้าอี้ Spa จะประกอบด้วยอุปกรณ์ทำเล็บต่างๆ ได้แก่
- เก้าอี้ราคา 80,000 – 300,000 บาท
- วัสดุที่ใช้แล้วหมดไป เช่น สำลี, scrub ,อุปกรณ์สปา,โลชั่น ฯลฯ ราคาโดยประมาณ 8,000-15,000 บาท
- อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ขัดเท้า,ตะไบ ฯลฯ ราคาโดยประมาณ 15,000-30,000 บาท
4. การตั้งราคาบริการ
ควรพิจารณาจาก ทำเลที่ตั้งของร้าน,กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย,และผลิตภัณฑ์ที่นำมาให้บริการ ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป
5. ค่าจ้างพนักงาน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์,ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน

การเริ่มทำธุรกิจ E-Business ให้ประสบความสำเร็จ


การเริ่มทำธุรกิจ E-Business ให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อพูดถึงคำว่าอินเตอร์เน็ตนั้นโดยทั่วไปแล้ว จะถือว่าเป็นเรื่องของการสื่อสาร แต่หากพูดถึงคำว่าธุรกิจอินเตอร์เน็ต มันก็เป็นเรื่องของธุรกิจดีๆนี่เอง ต่างกันก็เพียงแต่ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ วิธีการที่จะนำธุรกิจขึ้นอินเตอร์เน็ต หรือจะเรียกอีกอย่างว่าการแปลงร่างเป็นธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้เรื่องได้ราวนั้น จะต้องรู้จักผสมผสานเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตให้เข้ากันกับกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างลงตัว ธุรกิจและวัฒนธรรมขององค์กรถือเป็นตัวแปรหลักสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการที่คิดจะนำธุรกิจที่มีอยู่ขึ้นไปโลดแล่นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องอาศัยกลยุทธ์ 9 ประการ ดังนี้
 
1.รู้เรา คำถามประเภทว่า “ท่านอยู่ในธุรกิจอะไร” “แก่นของธุรกิจอยู่ตรงไหน” หรือ “ท่านมีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในวงการ” คงไม่ใช่แบบฝึกหัดที่จะมานั่งคิดกันในตอนที่ท่านจะนำธุรกิจขึ้นอินเตอร์เน็ตแน่ๆ แต่มันควรจะทำมาตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจของท่านตั้งแต่ในวันแรกแล้ว การบ้านที่ต้องทำในวันนี้คือ หยิบแบบฝึกหัดนี้ขึ้นมาตรวจสอบว่า ถ้าธุรกิจเดิมของท่านต้องกลายเป็นธุรกิจที่มีดอทคอมพ่วงท้ายแล้ว คำตอบของคำถามที่ว่า”ท่านอยู่ในธุรกิจอะไร””แก่นของธุรกิจอยู่ตรงไหน”หรือ “ท่านมีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในวงการ” จะเปลี่ยนไปหรือไม่ต่างหาก ผู้ที่จะคิดทำธุรกิจอินเตอร์เน็ตจะต้องไม่มองอินเตอร์เน็ตด้วยสายตาของนักเทคนิค ในลักษณะที่ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสารทั้งข้อมูล ภาพ เสียงเป็นการติดต่อแบบสองทางอะไรเทือกนั้น แต่ต้องมองในลักษณะที่ว่า อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างธุรกิจ และระหว่างธุรกิจต่อผู้บริโภค และเราจะใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนี้ได้อย่างไรต่างหาก แบบฝึกหัดในขณะนี้คือ ต้องประเมินให้ได้ว่านวัตกรรมในการติดต่อสื่อสารของอินเตอร์เน็ตที่ว่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจของเรา ธุรกิจที่เราอยู่หลังจากแปลงเป็นธุรกิจดอทคอมแล้วเปลี่ยนไปหรือไม่ แก่นธุรกิจยังคงเดิมอยู่หรือไม่ จุดแข็งหรือความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าหากคำตอบที่ได้เปลี่ยนไปผู้บริหารจะต้องปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที และจะต้องสื่อสารให้กับพนักงานในองค์กรอย่างทั่วถึงกันโดยตลอด ผลพวงจากการรู้ตัวเองในข้อนี้ จะทำให้ผู้บริหารสามารถพัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับธุรกิจหลังการเปลี่ยนแปลง จะทำให้สามารถพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กร ให้สอดรับกับกลยุทธ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ จะทำให้ผู้บริหารสามารถกำหนดทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าได้อย่างชัดเจน
2.รู้เขา เช่นเดียวกันกับการ “รู้เรา” คำถามประเภทว่า “ลูกค้าของท่านคือใคร” “ความต้องการของลูกค้าคืออะไร” หรือ “พฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของท่านเป็นอย่างไร” คงไม่ใช่แบบฝึกหัดที่จะมานั่งคิดกันในตอนที่ท่านจะนำธุรกิจขึ้นอินเตอร์เน็ตแน่ๆ แต่ต้องหยิบแบบฝึกหัดนี้ขึ้นมาตรวจสอบว่า ถ้าธุรกิจเดิมของท่านต้องกลายเป็นธุรกิจที่มีดอทคอมพ่วงท้ายแล้ว “ลูกค้าของท่านยังใช่กลุ่มเดิมอยู่หรือไม่””ความต้องการใหม่ของ ลูกค้ากลุ่มนี้คืออะไร”หรือ”พฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของท่านเปลี่ยนไปอย่างไร” การนำเอาอินเตอร์เน็ตมาเป็นกุญแจดอกสำคัญของธุรกิจ คือ การมองให้ออกอย่างทะลุปรุโปร่งว่า การสื่อสารระหว่างธุรกิจกับทั้งลูกค้า พนักงานในองค์กร คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ ต้องเป็นรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และธุรกรรม (Transaction) ในแบบที่แตกต่างออกไปได้อย่างไร ผนวกเข้าในกระบวนการธุรกิจเดิมได้อย่างไร และสามารถสร้างคุณค่าของกิจการให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างไร
3.การสร้างวัฒน์เน็ตธรรม ข้อจำกัดเดิมในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด การขนส่งสินค้า ระยะทาง ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจที่นำเอาอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ผู้บริหารต้องทำแบบฝึกหัดที่ว่าการทลายข้อจำกัดเดิมของธุรกิจดังกล่าวให้หมดไป โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น รวมถึงการเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร กระบวนการทางธุรกิจ และวัฒนธรรมขององค์กรอย่างไร ความสำเร็จของการสร้างวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับธุรกิจแบบอินเตอร์เน็ต หรือ “วัฒน์เน็ตธรรม” จะต้องอาศัยคำมั่นหมาย (Commitment) การให้ความสำคัญ (Priority) และแรงขับเคลื่อน (Impetus) จากผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร และเริ่มต้นจากหน่วยธุรกิจที่มีแนวโน้มในการตอบรับการเปลี่ยนแปลงจากสูงสุดไล่เรื่อยไปจนครบในทุกหน่วยธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นงานหินในทุกๆองค์กรอยู่โดยปกติวิสัย เนื่องจากพนักงานกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลต่อตำแหน่งงานที่ทำอยู่ในเชิงลบ ผู้บริหารจำเป็นต้องสร้างตัวอย่างความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การยกย่องชมเชย การให้รางวัล การยกระดับหน่วยงานที่ทำสำเร็จ เป็นต้น
4.การใช้โครงสร้างธุรกิจแบบยืดหยุ่น องค์ประกอบที่มากับอินเตอร์เน็ตคือ “เทคโนโลยี” ผลพวงที่เกิดจากอินเตอร์เน็ตคือ “การเปลี่ยนแปลง” สองสิ่งนี้เป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจจำต้องปรับโครงสร้างของธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าแต่ก่อนหลายเท่าตัว โครงสร้างธุรกิจแบบยืดหยุ่นจะสามารถรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ระบบงานใหม่ๆ และวิธีการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ เข้ามาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างสะดวก การวางโครงสร้างพื้นฐานหรือสถาปัตยกรรมธุรกิจแบบเปิดที่สอดคล้องกับมาตรฐานของตลาด (Standards-based Architecture) -ประการแรก จะช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในการปรับตัวให้รับกับแนวโน้มของตลาดได้อย่างทันท่วงที -ประการที่สอง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงทุนในระบบงานหรือส่วนงานแบบปิด (Proprietary-based Architecture) ที่ไม่จำเป็นออกไป -ประการที่สาม จะช่วยผนวกระบบระหว่างลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ธุรกิจที่มีประสบการณ์ในการจัดส่งสินค้าหรือมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าในลักษณะที่เป็นจำนวนคราวละมากๆ (Mass) จะต้องเรียนรู้ในการบริหารช่องทางในแบบเฉพาะราย (Individual) ยังมีอีกหลายกลยุทธ์สำหรับการเข้าสู่อีบิสิเนส นอกเหนือจากการเริ่มต้นอย่าง “รู้เรา” และ “รู้เขา” “การสร้างวัฒน์เน็ตธรรม” และ “การใช้โครงสร้างธุรกิจแบบยืดหยุ่น”
5.การสร้างมาตรวัดผลหน่วยเน็ต การประเมินว่าธุรกิจหลังจากนำขึ้นสู่อินเตอร์เน็ตจะประสบผลตามเป้าหมายหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีมาตรวัดผลความก้าวหน้าระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โครงงานที่นำไปสู่การสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ตจะต้องให้หน่วยวัดในเชิงรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงงาน ในลักษณะ “ถ้าได้ตามนี้ เราถึงทำ” ไม่ใช่การดำเนินโครงงานด้วยทัศนคติที่ว่า “ถ้าเราทำ ก็คงได้ตามนั้น” มาตรวัดจะต้องถูกสร้างขึ้นเป็นอันดับแรกหลังจากการตรวจสอบกระบวนการทางธุรกิจเดิมเสร็จสิ้น ก่อนที่การเลือกทรัพยากรหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เป็นดอทคอม และก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นขึ้น มาตรวัดจะถูกใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทุกระยะ แม้แต่การตรวจสอบตัวมาตรวัดเองว่ามีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆดีอยู่หรือไม่ เพราะปัจจัยตัวแปรต่างๆในธุรกิจอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตัวอย่างคร่าวๆของมาตรวัดธุรกิจที่อาจมีความแตกต่างกัน ได้แก่ การที่องค์กรหนึ่งอาจตั้งมาตรวัดในเชิงของการสร้างขนาดผลกำไรของกิจการ (Profit Model) องค์กรอีกแห่งหนึ่งอาจสร้างมาตรที่เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Return-on-Investment Model) หรืออีกองค์กรหนึ่งอาจต้องการมาตรวัดในเชิงของความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก (Customer Satisfaction Base Model) ในขณะที่อีกองค์กรหนึ่งต้องการสร้างฐานลูกค้าให้เป็นสินทรัพย์ของธุรกิจ (Asset Customer Base Model) เป็นต้น
6.การขยับอย่างคล่องแคล่ว “พร้อม เล็ง ยิง” ยังใช้ได้ในกระบวนการสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ต แต่ระยะเวลาของอาการ “พร้อม” และ “เล็ง”นั้น จะต้องเร็วและคล่องตัว ธุรกิจไม่สามารถใช้เวลาเตรียมความพร้อมโดยใช้หน่วยปี ธุรกิจไม่สามารถใช้เวลาเล็งเป้าเป็นโดยใช้หน่วยเดือน อาการ “พร้อมเสมอ พร้อมทุกเมื่อ” หรืออาการ “เล็งผิด เล็งใหม่” จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ และเป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจอินเตอร์เน็ต จะดูแปลกก็เฉพาะแต่ผู้เล่นที่ยังไม่คุ้นเคยเท่านั้น จุดแวะตรวจสอบสมรรถนะสำหรับพาหนะดอทคอมนั้นจะอยู่ที่ทุกๆ 90 วันเป็นอย่างช้า ในขณะที่บางองค์กรใช้เวลาที่ทุก 30 วันด้วยซ้ำไป เทคนิคในการขยับตัวอย่างคล่องแคล่วและได้เรื่องได้ราวนั้น คือการเลือกเริ่มต้นกับไอเดียใหญ่แต่ขนาดโครงการมีขนาดเล็กและมีอัตราการเติบโตสูง หรือเรียกแบบภาษาชาวบ้านว่า “คิดแบบใหญ่ยักษ์ แต่ทำแบบเล็กพริกขี้หนู” วิธีนี้จะทำให้ธุรกิจเริ่มต้นหรือเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว อีกทั้งมีความเสี่ยงต่ำ สิ่งนี้มักจะไม่เกิดขึ้นในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเต็มไปด้วยความเชื่องช้าและยืดยาด และเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการนำธุรกิจขึ้นสู่อินเตอร์เน็ต เราจึงมักได้เห็นการสร้างธุรกิจอินเตอร์เน็ตขององค์กรใหญ่ๆ ด้วยการแยกหน่วยธุรกิจเน็ตออกมาต่างหากจากบริษัทแม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบของความรวดเร็วและความคล่องตัวด้วยประการฉะนี้
7.การผสานหน่วยธุรกิจและเทคโนโลยี “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกิจ + เทคโนโลยี” การสร้างสัมพันธภาพระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยีให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างกลมกลืน คือปัจจัยหลักของความสำเร็จในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ผู้บริหารจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักเทคโนโลยี นักการตลาด นักกฎหมาย นักการเงิน อย่างมีประสิทธิผล โดยปกตินักเทคโนโลยีจะรับหน้าที่พัฒนาบริหารโครงสร้างและระบบงานที่อยู่ในกระบวนการทางธุรกิจในฐานะผู้สนับสนุนข้อต่อทางธุรกิจ ในขณะที่ผู้บริหารธุรกิจจะให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณในส่วนเทคโนโลยีให้อย่างเหมาะสมและสอดคล้อง ในทางปฏิบัติแต่ละโครงการควรจะต้องสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จและเห็นผลได้ภายใน 3-6 เดือน โดยมีการให้ผลตอบแทนที่มากกว่าต้นทุนของโครงการภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
8.การสร้างพันธมิตรธุรกิจ อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดเครือข่ายสื่อสาร ธุรกิจอินเตอร์เน็ตก็ต้องอยู่โดยอาศัยเครือข่ายธุรกิจเช่นเดียวกัน ทัศนคติในเรื่องของการสร้างอาณาจักรธุรกิจที่ตัวเองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวไม่สามารถใช้บนอินเตอร์เน็ตได้ แม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ในปัจจุบันหลายรายยังต้องเป็นพันธมิตรกับบริษัทอินเตอร์เน็ตเกิดใหม่เช่นกัน ธุรกิจจึงต้องแยกแยะให้ออกว่า อะไรที่ควรทำภายในองค์กร อะไรที่ควรใช้เครือข่ายพันธมิตร สิ่งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสามารถกำหนดบทบาทและทิศทางของธุรกิจอินเตอร์เน็ตที่จะดำเนินไปอย่างมีนัยสำคัญ หากธุรกิจมัวแต่ลงทุนและกระทำทุกอย่างเองภายในองค์กร ก็อาจจะไม่สามารถทันต่อการแข่งขัน หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่หากธุรกิจไม่ฉลาดพอที่จะคงไว้ซึ่งจุดแข็งหรือแก่นทางธุรกิจของตนเองไว้ภายในองค์กร แต่ใช้เครือข่ายภายนอก ธุรกิจก็อาจต้องประสบกับความล้มเหลวได้ในพริบตา เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันหรือเกราะกำบังทางธุรกิจจากคู่แข่งขันรายอื่น หรือแม้แต่จากพันธมิตรทางธุรกิจด้วยกันเอง ประโยชน์ที่ได้จากการอยู่ในเครือข่ายพันธมิตรอีกประการหนึ่ง คือการค้นพบทางโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในเครือข่ายหรือการที่พันธมิตรเป็นผู้จุดประกายให้ เพราะความที่เครือข่ายพันธมิตรมิได้จำกัดโดยภูมิประเทศ ความหลากหลายของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ จะสร้างให้เกิดรูปแบบใหม่ๆทางธุรกิจ รวมถึงตลาดใหม่ๆที่คาดไม่ถึง
9.การยอมรับความผิดพลาด สาเหตุสำคัญประการหนึ่งสำหรับธุรกิจอินเตอร์เน็ตที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือผู้บริหารไม่ได้ตระหนักว่ากระบวนการทางธุรกิจของตนเองนั้นใช้การไม่ได้ และไม่เข้าใจในผลลัพธ์จากการใช้กลยุทธ์ที่ผิดพลาด และแม้ว่าในบางกรณี ผู้บริหารจะตระหนักถึงข้อบกพร่องดังกล่าว แต่ก็ดันทุรังที่จะดำเนินการต่อ เพียงเพราะความเชื่ออย่างมุ่งมั่นว่าวิธีคิดในกระบวนการทางธุรกิจแบบเดิมนั้นถูกต้อง ธุรกิจอินเตอร์เน็ตจะต้องสร้างวัฒนธรรมในการยอมรับความผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตในธุรกิจ และต้องพร้อมใจที่จะเปลี่ยนแปลงโดยทันทีเมื่อรู้ว่าโมเดลธุรกิจนั้นใช้การไม่ได้อีกต่อไป
บทเรียนทางธุรกิจที่พบอยู่สม่ำเสมอ คือเจ้าของธุรกิจมักจะปักใจเต็มร้อยว่าไอเดียธุรกิจอินเตอร์เน็ตของตนเองนั้นทำเงินได้แน่ๆ ในขณะที่ลูกค้าทางธุรกิจหรือตลาดกลุ่มเป้าหมายกลับไม่ตอบสนองต่อไอเดียธุรกิจนั้นแต่อย่างใด นั่นคือกลยุทธ์ 9 ประการสำหรับการเข้าสู่อีบิสิเนส ซึ่งจะขอสรุปรวบท้ายอีกครั้ง ได้แก่ การเริ่มต้นอย่าง “รู้เรา” และ “รู้เขา”,”การสร้างวัฒน์เน็ตธรรม”,”การใช้โครงสร้างธุรกิจแบบยืดหยุ่น”, “การสร้างมาตรวัดผลหน่วยเน็ต”,”การขยับอย่างคล่องแคล่ว”,”การผสานหน่วยธุรกิจและเทคโนโลยี”,”การสร้างพันธมิตรธุรกิจ” และ “การยอมรับความผิดพลาด”

การทำธุรกิจร้านอาหาร


การทำธุรกิจร้านอาหาร
ธุรกิจร้านอาหาร บางคนคิดว่าทำง่ายๆ แค่ซื้อแฟรนไชส์ หรือเซ้งร้านต่อจากเจ้าของเดิมที่เคยขายดี ก็สามารถขายได้เงินแล้ว ท่านอาจคิดผิด มีหลายรายที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของงาน คุณภาพอาหารและการบริการ โดยจะขอยกตัวอย่างที่ผมเจอมากับตัวเองช่วงวันหยุดที่ผ่านมานี้
1) คุณภาพรสชาดของอาหารไม่ได้มาตรฐาน ผมเคยเจอเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวน้ำมีชื่อตั้งอยู่ในห้างเดียวกัน แต่อยู่คนละมุมห้าง ปรากฎว่า ร้านเล็กรสชาดน้ำก๋วยเตี๋ยวไปทานกี่ครั้งก็ไม่ได้เรื่อง สุดท้ายเลยต้องเลิกทานร้านเล็ก บอกก็ได้ ว่าชื่อร้านเจียงลูกชิ้นปลา ในห้างซีคอนสแควร์สาขาฝั่งโลตัสที่รสชาดไม่ได้เรื่อง น้ำซุปจืดชืดไม่มีรสชาดความอร่อยเลย อีกร้านอยู่ฝั่งโรบินสัน พอใช้ได้
2) ผมเคยติดใจร้านข้าวมันไก่ทอดเจ้าหนึ่ง ผ่านไป 1 เดือน ไปทานอีกครั้ง ปรากฏว่า มีคนมาเซ้งร้านเปลี่ยนเจ้าของใหม่แล้ว เอาล่ะไม่เป็นไรลองชิมก่อนก็ได้ นั่งโต๊ะแล้วสั่งข้าวมันไก่ทอดเลย ไม่มีครับ จะไหวหรือ สั่งอาหารจานโปรดก็ไม่มีแล้ว ต้องร้องเพลงถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า ที่ถอยเพราะดูคนขายยังเก้ๆ กังๆ อยู่เลย
3) ร้านก๋วยเตี๋ยวชักธงดู๋ดี๋ ที่ลือชื่อแถวบางแสนมานานกว่า 30ปี ระยะหลังเห็นมีร้านค้าเลียนแบบไม่แน่ใจว่ามีการขายแฟรนไชส์หรือไม่ ผมเคยไปทานที่ห้างพาซิโอ ถ.อ่อนนุช –ลาดกระบัง รสชาดใช้ได้เลย ผ่านไปอีก 1เดือน มีคนมาเซ้งร้านต่อ ก็ลองสั่งเหมือนเดิม ร.ด.เป็นบะหมี่น้ำขลุกขลิกก้นชามมีกระดูกหมูอ่อนต้ม ราคาชามละ 43 บาท เอาว่ะเมื่อก่อน 30 บาทก็ว่าแพงแล้ว ไปกัน 2 คน ชามแรกส่งผิดโต๊ะส่งอะไรมาให้ทานก้ไม่รู้ หลวมตัวตักทานไปแล้ว ชามที่ 2 รสชาดไม่ได้เรื่องเลยเค็มปี้ มีบะหมี่ 1 ก้อนกระดูกหมู 3 ชิ้น น้ำซุปก้นชาม จะสั่งเพิ่มก็ไม่ไหวแล้ว กินไม่ลง แถมยังมียัดเยียดอีก สั่งปอเปี๊ยะทอดหรือเปล่าครับ ผมตอบทันควันเลยไม่ได้สั่งครับ เช็คบิลด้วย
ฝากไปถึงท่านเจ้าของร้านอาหาร ถ้าท่านคิดจะเปิดร้านขายอาหารขอให้ศึกษาสูตรอาหาร รสชาดให้ดี ทำคุณภาพให้สม่ำเสมอ การบริการของพนักงานต้องรวดเร็วทันใจ รับออเดอร์ถูกต้อง ไม่ใช่ส่งผิดส่งถูก การทำร้านขายอาหาร ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ ผมยืนยันได้ เพราะผมโตมากับร้านอาหารที่พ่อแม่ทำกิจการร้านอาหารขายตั้งแต่รถเข็นจนเป็นตึกแถว 3 ห้อง มีลูก 6 คน ทุกคนพอมีฝีมือที่ทำอาหารขายได้ แต่ไม่มีใครสืบทอดมรดกเป็นกุ๊กขายอาหารเลยครับ…เห็นพ่อแม่เหนื่อยมาทั้งชีวิตแล้ว ลูกๆ ทั้งหมดเลยรับราชการ และทำงานเอกชนหมดครับ
ใครมีร้านอาหารแนะนำแจ้งมาได้นะครับ ไม่ต้องหระหรูหระหราครับ ประเภทก๋วยเตี๋ยว หรือ อาหารจานด่วน ผมเคยเป็นแฟนคลับของสกายลาร์ค ระยะหลังเมนูเปลี่ยนไป ไม่ค่อยถูกปากเท่าไร

ธุรกิจที่ไม่ควรลงทุนเเละมีเเนวโน้มไปไม่รอดในอนาคต


ธุรกิจที่ไม่ควรลงทุนเเละมีเเนวโน้มไปไม่รอดในอนาคต
ใช่ครับคือมีโอกาศเจ๊งนั้นเองครับ ตอนนี้ถ้าคนออกจากงานมามีเงินทุน 1-2 เเสนบาทหลายคนคงมองไปที่ ร้านกาเเฟ หรือไม่ก็ ขายเสื้อผ้า ส่วนตัวการขายกาเเฟผมว่ายังไปรอดอยู่นะครับถ้าไม่ฟันลูกค้ามากจนเกินไป เเละร้านเสื้อผ้าก็พอไปได้ครับ เเต่ทั้งสองธุรกิจ ต้องหาทำเลครับ โดยเฉพาะเสื้อผ้านี่เหนื่อยเพราะต้องไป หลายที่ครับ ตามเปิดท้ายหรือตลาดนัดนี่เเหละครับ เหนื่อยสุดๆหละครับ
ส่วนธุรกิจที่ผมมองว่าไม่น่ารอดเเน่ๆในอนาคตเท่าที่ความรู้ผมมีอยู่นะครับ ก็คือ
ร้านขายหนังสือการ์ตูน หรือ เช่าหนังสือการ์ตูนครับ เหตุผลไม่ต้องอะไรมากเดี๋ยวนี้การ์ตูนเล่มละ 45-60 บาท คุณจะได้กำไรประมาณ 20% หนะครับ ถือว่ากำไรดีนะครับ อย่างเเถวบ้านผมหนังสือการ์ตูนขายดีสุดคือ โคนัน วันพีซ นารูโตะ ซึ่งถ้าพวกนี้ออกใหม่ ทางร้านจะรับมา 200-400 เล่ม เเต่สมัยนี้รับมาเเค่ 100-200 เท่านั้น เพราะอะไรหรอครับ เพราะเดี๋ยวนี้คนไปอ่านในเน็ตกันครับ ซึ่งขนาดคนสะสม เนี่ย เค้ายังตัดจบเองเลยคือไม่ซื้อนั้นเองอ่านในเน็ตก็ได้ยิ่งเดี๋ยวนี้ มี tablet 3G เเละมีคอม หรือ สมาสโฟน สะดวกกว่าซื้อหนังสืออีกเเถมไม่เสียเงินด้วย สรุปเเล้ว ไม่น่าลงทุนครับ ส่วนร้านเช่าหนังสือ ผมว่าก็ไม่รอดหรอกครับ กูจะไปเช่าทำไมในเน็ตมี
ร้านเช่า vcd dvd ผมว่าอันนี้ก็ไม่น่าลงทุนยิ่งเมืองไทยเเผ่นผีหาง่ายกว่า เเผ่นเเท้อีก เเถมมีโหลดบิทอีก ยกตัวอย่างนะครับ อย่างผมเนี่ยก็โหลดดูนะครับ อย่าง vcd เนี่ย เนื้อที่ 1.2GB เน็ตจ่ายเดือนละ 399 ผมจำไม่ได้ว่จ่ายเท่าไหร่ เเต่ หนัง vcd คนปล่อยระดับ 50-100 คน เเค่ ครึ่งชั่วโมงก็เสร็จเเล้ว เเถมเดี๋ยวนี้มันมีเวปให้ดูหนังเเบบไม่โหลดอีก เรียบร้อยครับ อาชีพจะจบในไม่ช้านับจากนี้
ร้านเกมส์คอม อันนี้ ไม่ต้องพูดอะไรมากครับ คอมเดี๋ยวนี้ราคาถูกเครับ กับอีกเเค่เกมสืออนไลด์ตอนนี้เครื่องราคา 15000 บาทก็เล่นได้เดี๋ยวมีคอมกันทุกบ้าน เเล้วครับไม่น่าลงทุนครับ เกมส์ออนไลด์คอม สเปคเครื่อง core2 หรือ i3 รวม การ์ดจอราคา 1500 บาทก็เล่นได้หมดเเล้วครับ
ธุรกิจ ที่เหนื่อยเเน่ๆเเต่ยังพอได้อยู่ก็คือ  ร้านขายนิตยสาร ร้านซ้อมวิทยุ ทีวี อันนี้ก็คงจบในไม่ช้า เเหละเพราะเดี๋ยวนี้เค้าไม่ซ้อมกันเเล้ว เค้าจะขายซากไปขายต่อที่ลาว พม่า อะไรเเบบนี้เเล้วเมืองไทย อย่างญี่ปุ่นสมัยก่อนเราเห็นทีวี อะไรพวกนี้มาซ้อมเเละมาขายเเต่เดี๋ยวนี้ไม่มีเเล้ว

ธุรกิจร้านเปิดขายเหล้าปั้น


ธุรกิจร้านเปิดขายเหล้าปั้น
แฟรนไชส์ร้านเหล้าปั่น  “Cocktail Thailand”
สุภศักดิ์ เกตุไทย อาจารย์สอนค็อกเทล บาร์เทนเดอร์ และหนึ่งในคณะกรรมการสมาคมบาร์เทนเดอร์ (สากล) ประเทศไทย ผู้ที่คว่ำหวอดอยู่ในวงการค็อกเทล บาร์เทนเดอร์ นานกว่า 20ปี กับเบื้องหลังของบาร์เทนเดอร์มืออาชีพที่มีคุณภาพ ก่อนขึ้นแท่นเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เครืองดื่ม cocktail แบรนด์ไทยนาม “Cocktail Thailand”
 สุภศักดิ์ เล่าให้นิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ถึงแรงผลักดันที่ก่อกำเนิดเกิดแฟรนไชส์ร้านเหล้าปั่นว่า ผมเริ่มมาจากการสอนค็อกเทล บาร์เทนเดอร์ และตัวผู้เรียนก็ต้องการเรียนเพื่อนำไปเปิดร้าน ต้องการจะเห็นร้านต้นแบบว่าร้านเหล้าปั่นเป็นอย่างไร และลูกค้าต่างจังหวัดจะหาซื้อสินค้าได้ที่ไหน ต้องการให้เราช่วยป้อนสินค้าให้ จึงลงมือสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ร้าน “เหล้าปั่น” มาประดับวงการแฟรนไชส์ไทย   การเปิดร้านเหล้าปั่น ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะเริ่มต้น
 สุภศักดิ์ พูดถึงความโดดเด่นของแฟรนไชส์ร้าน  “เหล้าปั่น” ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถตั้งชื่อที่ตัวเองต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อแบรนด์เดียวกับเรา ซึ่งมีค่าแฟรนไชส์ประมาณ 19,000 บาท ผู้ซื้อจะได้รับชุดเคาน์เตอร์พร้อมอุปกรณ์ในการขายครบชุด ได้แก่
 Blender        1 ชุด
 Shaker         1 อัน
 Jigger          1 อัน
 Speed Pouring   15 อัน
 ขวดน้ำผลไม้    4 ขวด
 กล่องใส่ผลไม้   2 กล่อง
 Bar Spoon    2 อัน
 เหล้า 1 ชุด     12ขวด
 น้ำผลไม้        1 ชุด
 น้ำเชื่อมผลไม้   1 ชุด
 แก้วพลาสติก  200 ใบ
 ถังน้ำแข็ง    1 ถัง
 ที่ตักน้ำแข็ง  1 อัน
 ที่เปิดกระป๋องผลไม้  1 อัน
 ผ้ากันเปื้อน  2 ชุด
พร้อมอบรม สอนและฝึกหัดการผสม การทำเหล้าปั่นและค็อกเทลให้อีกด้วย  ในวันเปิดร้านยังจัด Bartender Show   เพื่อสร้างสีสรรโชว์การทำค็อกเทลเสริมให้ด้วย ต่อวันจะมี กำไรเกิน 50 % และโอกาสคืนทุนคืออยู่ที่ยอดขายประมาณ 180 เหยือก ราคาเหล้าปั่นขายเหยือกละ ประมาณ 79 – 120 บาท แล้ว แต่เจ้าของร้าน หรือทำเลที่ตั้ง
 สุภศักดิ์  กล่าวถึง รูปแบบของแฟรนไชส์ธุรกิจร้าน “เหล้าปั่น” จะมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของร้านเหล้าปั่นอย่างเดียว และรูปแบบที่ 2 ร้านเหล้าปั่นและค็อกเทลเข้ามาเสริมด้วย ทำเลที่เหมาะสมใกล้ย่านวัยรุ่น เพราะรูปแบบของร้านเป็นเคาน์เตอร์บาร์เล็กเป็นมุมสนุกๆ  ขายเฉพาะเหล้าปั่น หรือจะมีเบียร์และเหล้าขวดมาเสริมด้วยก็ไม่เป็นไร
 สำหรับส่วนผสมเหล้าปั่นจะระม้ายคล้ายกับค็อกเทล คือประกอบด้วยเหล้าวอคก้า ซึ่งเหล้า 1 เหยือกจะใช้วอคก้าประมาณ 3 ออนซ์ เหล้ารัม ยิน และตากีรา หรือถ้าลูกค้าต้องการเหล้าขวดอย่างแสงโสม หรือแม่โขงก็ทำได้เช่นกัน มีน้ำเชื่อมรสผลไม้รสชาติต่างๆ ส่วนผสมเหมือนน้ำผลไม้ปั่นแต่เติมเหล้าลงไป เพิ่มเหล้าให้รสชาติเข้มข้นได้ตามความต้องการเหล้าปั่น…สร้างเทรนใหม่ให้นักดื่ม
       สุภศักดิ์ บอกถึงบางคนที่ดื่มเหล้าขวดไม่ได้ ก็จะหันมาดื่มเหล้าปั่นแทน ซึ่งสามารถแชร์ตลาดเหล้าขวดมาได้จำนวนหนึ่ง สำหรับรสชาติของเหล้าปั่นที่เราคิดค้นขึ้นขณะนี้มีด้วยกัน 60 สูตร เหล้าที่เราใช้มีด้วยกัน 4 ชนิด และน้ำผลไม้ 24 รสชาติ เป็นเหล้าที่มีขายตามท้องตลาด มีทั้งเหล้าที่นำเข้าและเหล้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งในอนาคตมีแผนที่จะจัดรายการร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเหล้า หรือบริษัทผู้ผลิตน้ำเชื่อมรสผลไม้ที่ใช้เป็นส่วนผสมช่วยให้ต้นทุนของเราถูกลง และเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์แฟรนไชส์ของเราให้คนรู้จักมากขึ้น
     ณ ปัจจุบันมีผู้สนใจและซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดแล้วกว่า 50 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นในต่างจังหวัด โดยเฉพาะสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ แบ่งเป็นร้านเหล้าปั่น 30 ราย และ ร้านเหล้าปั่นร่วมค็อกเทล 20 ราย ใช้พื้นที่สำหรับการเปิดร้านเหล้าปั่นขั้นต่ำประมาณ 20 ตรม. สามารถจัดโต๊ะได้ประมาณ 5-6 โต๊ะ จะมีอาหารเสริมด้วยก็ได้ ร้านที่เปิดให้บริการจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตโดยต้องเสียภาษีปีละ 1,650 บาท และได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องจึงจะเปิดขาย   เราจะเปิดขายเวลาที่กำหนดให้ขายเหล้าได้ แต่ส่วนใหญ่ร้านลักษณะนี้ต้องเปิดตอนเย็นก็จะดี
  ท้ายคอลัมม์นี้ผู้เขียนก็อยากฝากถึง ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อม  เข้าฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านการผสมเครื่องดื่มเมื่อผู้ประกอบอาชีพสั่งสมประสบการณ์ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจคิดสร้างสรรค์ คิดค้นสูตรดัดแปลงเมนูเครื่องดื่มผสมใหม่ๆ ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มผสมสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อไว้ให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ตามบริเวณสถานที่ออกกำลังกาย สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะสวนสุขภาพ หรือบริเวณสถานที่ตั้งสถานประกอบกิจการทางธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้น โอกาสของผู้ประกอบอาชีพนี้ยังมีช่องทางให้เลือกอีกมาก จากสูตรเครื่องดื่มผสมเอกลักษณ์ในวาระ และเทศกาลโอกาสสำคัญๆ หรือคิดค้นพัฒนาสูตรเครื่องดื่มผสมสำเร็จรูปที่สะดวกสำหรับผู้บริโภคก็เป็นได้
ที่มา gmwebsite.com

การทำธุรกิจร้านปลาสวยงาม


การทำธุรกิจร้านปลาสวยงาม
เปิดร้านขายปลาสวยงาม
เงินลงทุน ครั้งแรกประมาณ 20,000 – 30,000 บาท รายได้ ตู้เลี้ยงปลา เครื่องทำออกซิเจน ตู้พักปลา กระชอนช้อนปลา เครื่องดูด/ ถ่ายน้ำ เครื่องกรองน้ำ อาหารปลาและอุปกรณ์ประดับตู้ปลา แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา/อุปกรณ์ บางบัว เขตบางเขน สวนจตุจักร วิธีดำเนินการ
1. หาซื้อตู้เลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ประมาณ 2-3 ตู้ แล้วล้างน้ำให้สะอาด
2. นำตู้ปลาไปตั้งในที่จัดเตรียมไว้ บรรจุหิน ปะการังและต้นไม้น้ำ ตกแต่งให้สวยงาม ติดตั้งเครื่องกรองน้ำและเครื่องทำออกซิเจนลงในตู้
3. ใส่น้ำลงในตู้ปลาให้เกือบเต็ม โดยใช้เครื่องดูดน้ำจากน้ำสะอาดที่เตรียมไว้แล้วในอีกภาชนะหนึ่ง
4. นำพันธุ์ปลาที่เป็นที่นิยมของตลาด เช่น ปลาเงินปลาทอง ปลาคราฟ ปลาบอลลูน ปลาเทวดา ฯลฯ มาใส่ในตู้พักปลา เพื่อปรับสภาพหลังการเคลื่อนย้าย


5. เมื่อปลาแข็งแรงดีแล้วใช้กระชอนค่อย ๆ ช้อนปลาลงในตู้ปลาที่จัดเตรียมไว้ในปริมาณที่เหมาะสมกับเนื้อที่ว่างของตู้
6. ให้อาหารปลาเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอเหมาะวันละ 1 ครั้ง หากปลากัดกันให้แยกออกหรือปลาเป็นโรค ให้แยกปลาไว้ต่างหากแล้วใช้ยารักษา และเปลี่ยนน้ำใหม่ในตู้ปลาหมั่นเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาทุกวัน ตลาด/แหล่งจำหน่าย ย่านชุมชนหรือใกล้สถานศึกษา สถานที่ให้คำปรึกษา1. สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงาม กรมประมง โทร. 0-2558-01722. ประมงจังหวัดทุกจังหวัด ข้อแนะนำ 1. ผู้ประกอบอาชีพนี้ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของปลา โดยศึกษาจากหนังสือหรือสอบถามผู้มีความรู้ เพื่อสามารถเลี้ยงได้ถูกวิธีและแนะนำลูกค้าได้ 2. น้ำที่ใส่ในตู้ปลาหากจำเป็นต้องใช้น้ำประปา ควรรองน้ำทิ้งไว้ก่อนนำไปใช้ 3. ควรมีอุปกรณ์ประดับตู้ปลา อาหาร และยารักษาปลา จำหน่ายร่วมด้วยเพื่อเพิ่ม รายได้

การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop


การทำธุรกิจเปิดร้าน petshop
การเปิดร้าน petshop อย่างเป็นขั้นตอนมีอะไรบ้าง สิ่งที่ควรสนใจเกี่ยวกับการเปิดร้าน petshop ก็คือ
  –  เงินทุน อันนี้จำเป็นจริงๆนะครับ เพราะการเปิดร้านประเภทนี้ต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 2-5 เเสนบาทครับเพราะทั้งค่าตบเเต่งเเละ ค่าเช่า ค่าอาหาร เเละ อุปกรณ์สำหรับในการเลี้ยงสัตว์ ถ้ามีตึกตัวเองก็ไม่หนักเท่าไหร่เพราะของพวกนี้ต้องใช้เวลา ในการทำธุรกิจเริ่มเเรกครับ เพราะว่า ต้องใช้เวลาสะสมลูกค้า ครับถ้าเราดีจริงกว่าจะเห็นผลต้องมี 3-6 เดือนเลยครับ เตรียมตัวขาดทุนไว้เลยครับ 3-6 เดือนเเรกเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน
  –  ทำเล อันนี้สำคัญครับ เพราะ ถ้าท่านไปเปิดในป่าคงไม่มีลูกค้าเเน่นอนครับ ดังนั้นควรเลือกทำเลให้ดีครับ
  – การบริการเเละราคา ต้องดีเเละสู้กับร้านอื่นให้ได้ครับ เช่น ถ้าการบริการไม่ต่างกันมาก เราเปิดทีหลังคู่เเข่งก็ลดราคา ให้ถูกกว่าคู่เเข่งหน่อยครับเป็นการดึงลูกค้าครับ
  –  การตกเเต่งร้าน อันนี้สำคัญลงทุนหน้าร้านให้น่าเข้าครับทุ่มทุนตรงนี้มากๆหน่อยก็ดีครับ
  – ส่วนสินค้าควรมีหลากหลายครับเเต่อย่าสต็อคมากครับ เเนะนำให้เน้นอะไรที่ขายดีจริงๆครับ เเละของพวกนี้เราสามารถเอามาประดับร้านได้ด้วยครับ
เเค่นี้เเล้วกันนะครับคิดไม่ออกเเล้ว