บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาษีนำเข้าสินค้าสำหรับทำธุรกิจ


ภาษีนำเข้าสินค้าสำหรับทำธุรกิจ
ความเป็นมา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา อบรม รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงกำหนดให้มีการระดมทรัพยากรและ การลงทุนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน สถาบันสังคมอื่นมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยส่งเสริมและให้แรงจูงใจด้วยการสนับสนุนให้ดการอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนทางภาษี หรือ ยกเว้นภาษี ดังนั้นการให้ยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมตาม ความตกลงฟลอเรนซ์ของยูเนสโกจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมด้านการศึกษาและวิจัยของประเทศ
ประเทศไทยได้ยื่นภาคยานุวัติสารเป็นภาคีความตกลงฟลอเรนซ์ (Florence Agreement) ของยูเนสโกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2493 ความตกลงฉบับนี้กำหนดให้รัฐภาคียกเว้นอากรนำเข้าแก่วัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ที่หน่วยงานนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้วัสดุดังกล่าวจะต้องผลิตจากประเทศที่เป็นภาคีความตกลงฟลอเรนซ์ และจะต้องอยู่ภายใต้ภาคผนวกของความตกลง คือ
ภาคผนวก ก หนังสือ สิ่งพิมพ์ และเอกสาร
ภาคผนวก ข ศิลปวัตถุ และสิ่งที่นักสะสมรวบรวมไว้ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
ภาคผนวก ค โสตทัศนวัสดุทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
ภาคผนวก ง เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์
ภาคผนวก จ สิ่งของสำหรับคนตาบอด
ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ ทำหน้าที่เลขานุการ
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาให้ยกเว้นอากรนำเข้านั้น ประเทศสมาชิกจะเป็นผู้กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติ/กฎหมายหลักของประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยการยกเว้นอากรนำเข้าจะอยู่ภายใต้กรอบของพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 4 ประเภท 10 ซึ่งเป็นการให้ยกเว้นอากรนำเข้าตามความตกลงนานาชาติและระเบียบคณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติในการขอยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุ การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม พ.ศ.2527
แนวปฏิบัติในการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้า
การพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าตามความตกลงฟลอเรนซ์ของยูเนสโก ในส่วนของการดำเนินงานของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรม ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติทำหน้าที่เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้จะเป็นผู้พิจารณาว่าเห็นควรอนุมัติให้ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ ในขั้นตอนสุดท้าย โดยพิจารณาจากมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษาฯ
2. คณะอนุกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ เป็นประธาน มีหน้าที่ในการพิจารณา ให้ความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของ คณะกรรมการในขั้นต้นแก่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ของหน่วยงานจากข้อมูลที่ฝ่ายเลขานุการฯ ได้วิเคราะห์แล้วนำเสนอ
3. ฝ่ายเลขานุการ จะพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบและวิเคราะห์คำขอของหน่วยงานในขั้นต้นเพื่อจัดทำสรุปข้อมูล และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าฯ หากเรื่องใดมีเอกสารไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง จะดำเนินการส่งเรื่องคืนหน่วยงานพร้อมคำอธิบายและเหตุผลของการส่งคืน
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการยกเว้นอากรนำเข้าฯ
การยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นการส่งเสริมการศึกษาและวิจัย โดยช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและทันสมัยมาสนับสนุนการจัดการศึกษาได้ในกรอบของงบประมาณที่มีอยู่จำกัด ทำให้การจัดการศึกษาทุกระดับโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทัดเทียมกับนานาประเทศ และช่วยปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำวิจัยสามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพ จนสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะผลการวิจัยได้ช่วยพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแก่คนไทยให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีวิธีป้องกัน/รักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ได้ผลดี รวมทั้งช่วยบำบัดและป้องกันมลพิษสภาพในสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย
สรุปผลการดำเนินการส่งเสริมด้านการศึกษาและวิจัยภายใต้ความตกลงฟลอเรนซ์ของยูเนสโก
ปัจจุบันการขอยกเว้นอากรนำเข้าของหน่วยงานมีความหลากหลายมากขึ้นโดยในแต่ละปีจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาและวิจัยยื่นคำขอยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องมือ/อุปกรณ์เป็นจำนวนมาก จากสถิติการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าจำนวนคำขอมีแนวโน้มลดลงในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2544 จะพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 6,516,880,445.81 บาท เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2543 จะมีมูลค่าเพียง2,289,715,032.64 บาท ทั้งนี้เนื่องจากในปีพ.ศ.2543 เป็นปีที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้มูลค่าในการนำเข้าลดลง และต่อมาในปี พ.ศ.2544 หน่วยงานต่างๆ เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้มีการทำสัญญาเงินกู้ผ่านธนาคารโลก เพื่อนำมาใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านการศึกษาแทนการจัดซื้อเครื่องมือโดยใช้งบประมาณของประเทศ ซึ่งอยู่ในภาวะฝืดเคือง มีผลทำให้มูลค่าการนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นกว่า ทุกปี นอกจากนี้ยังพบว่าหน่วยงานที่ขอยกเว้นอากรนำเข้าส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของมหาวิทยาลัย มากที่สุดเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะมหาวิทยาลัยจะจัดการเรียนการสอนในลักษณะของการวิจัยในด้านต่างๆมากมาย ซึ่งเครื่องมือที่ขอยกเว้นอากรนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับกรมอาชีวศึกษา จะขอยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องมือในลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร และใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มผลผลิตต่างๆ แต่สำหรับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจะจัดซื้อเครื่องมือที่เป็นประเภทเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในงานวิจัยมากกว่าจะนำมาใช้ในการเรียนการสอน สำหรับในกลุ่มของ โรงเรียนระดับมัธยมต้น และมัธยมปลายนั้น ยังไม่มีการขอยกเว้นอากรนำเข้า อาจเนื่องมาจากงบประมาณที่มีจำกัดทำให้ไม่สามารถจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้ ดังนั้นโรงเรียนในระดับนี้ที่มีการขอยกเว้นอากรนำเข้าส่วนใหญ่จึงอยู่ในกลุ่มของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเครื่องมือที่ขอยกเว้นอากรนำเข้าจะเป็นเครื่องมือประเภท โสตทัศนูปกรณ์ หนังสือเรียน และอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ชิ้นเล็กๆ สำหรับให้เด็กนำมาใช้ในการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น