บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อเสียของการเก็งกำไรที่ดิน


ข้อเสียของการเก็งกำไรที่ดิน
        สมัยนี้ผมคิดว่า ใครซื้อทีี่ดินเก็งกำไรตอนนี้ผมยากเเล้วหละครับเพราะที่ดินที่คิดว่าจะเก็งกำไรได้เนี่ย ต้องมองขาดจริงๆ คือเเบบว่าถนนจะตัดผ่าน หรือ เเนวโน้มความเจริญจะมาถึงเเต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่เเล้วครับไอ้ที่ดีๆเนี่ยก็โคตรเเพง เเละถูกๆเนี่ยเดินเข้าต้องใช้เข็มทิศเลยอะเเถมการทำกำไรต้องกินเวลา 5-10 เเละเงินจมอีกด้วย
เพิ่มเติม
       กล่าวคือเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ระยะแกว่งตัวขึ้น เพราะการจ้างงานมากขึ้น ย่อมหมายความว่าจะมีการใช้จ่ายมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดกิจการมากขึ้น อสังหาริมทรัพย์ที่ว่างเหลือน้อยลง ราคาและค่าเช่าเริ่มสูง การก่อสร้างเริ่มเข้าสู่ระยะเฟื่องฟู กระตุ้นอุปสงค์ในที่ดิน ระยะฟื้นตัวกลายเป็นระยะเฟื่องฟู อัตราเพิ่ม (ความชัน) ของการแกว่งตัวขึ้นเข้าสู่ขั้นสูงสุด ระยะนี้นักเก็งกำไรจะเข้าสู่ตลาด เพราะคาดกันว่าอสังหาริมทรัพย์จะมีราคาสูงขึ้นในอนาคต จึงทำให้ที่ดินยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีก การก่อสร้างส่วนใหญ่ก็เป็นการเก็งกำไร เพราะผู้ก่อสร้างก็คาดหวังว่ามูลค่าที่ดินของตนจะสูงขึ้นจะทำให้ตนได้กำไร 
แต่ผู้ประกอบการเริ่มเห็นว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ชักจะสูงกว่าที่ควรสำหรับปัจจุบัน เพราะมันสูงขึ้นจากการคาดหวังสำหรับอนาคต ?สิ่งขวางกั้นที่มองไม่เห็น ซึ่งทำให้ไม่มีการก่อสร้างอาคารและเมืองไม่ขยายออก คือ ราคาอันสูงของที่ดิน ราคาที่จะเพิ่มเมื่อเห็นแน่นอนว่าประชากรที่เพิ่มจะต้องใช้ที่ดิน? (Henry George, Social Problems, 1883, p.126) ?มือที่มองไม่เห็น? ของแอดัม สมิธ ถูกสกัดด้วย ?สิ่งขวางกั้นที่มองไม่เห็น? ของเฮนรี จอร์จ เป็นธรรมดาที่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น ดอกเบี้ย วัตถุดิบ และแรงงาน แต่การเก็งกำไรเป็นอิทธิพลที่มีพลังสูงเป็นพิเศษที่ทำให้ราคาที่ดินขึ้นสูง
การก่อสร้างที่ชะลอตัวลงทำให้กิจการอื่นๆ ชะลอลงด้วย เช่น ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ เหล็ก ปูน และ ไม้ ลด อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าทุนเหล่านี้ ซึ่งได้ขยายอย่างรวดเร็ว ก็หดตัวลง คนงานที่ถูกปลดหรือลดเวลาทำงานก็ใช้จ่ายน้อยลง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยิ่งช้าลงอีก จนมาถึงจุดที่เส้นเฉียงขึ้นเปลี่ยนเป็นเส้นแนวนอน คือ หยุดขยาย เศรษฐกิจอยู่ที่จุดสูงสุด แต่กำลังจะต่ำลง เพราะอัตราการขยายตัวได้ลดลง และกำลังจะเป็นลบ
ภาวะถดถอยเองยิ่งทำให้เกิดการถดถอยมากขึ้น โดยที่การลดการผลิตทำให้รายได้ลด รายจ่ายก็ต้องลดตาม ซึ่งยิ่งทำให้การผลิตลดลงอีก ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงสูง ถึงแม้จะมีว่างมากขึ้น เพราะเจ้าของยังไม่อยากขายต่ำกว่าราคาที่เคยสูงมา ปรากฏการณ์นี้ดำเนินมาซ้ำซากทุกวัฏจักร ! แต่ในที่สุด เมื่อมีการล้มละลายมากขึ้น เจ้าของที่ดินก็ได้รับค่าเช่าน้อยลง ส่วนหนึ่งของเจ้าของที่ดินซึ่งมีรายจ่ายเกินรายได้ก็ต้องขาย ราคาอสังหาฯ จึงเริ่มหักหัวลง เจ้าของที่ดินจำนวนมากล่มจม หมดความสามารถชำระหนี้ ส่วนใหญ่มีหนี้มากเกินมูลค่าทรัพย์สินของตน เมื่อไม่มีการชำระหนี้ ธนาคารก็ขาดเงินมากมาย และล้มลงหลายแห่ง
หลังจากการหดตัวรุนแรง การล้มละลายและการหดตัวก็ลดความเร็วลง นับเป็นการถึงจุดที่เส้นโค้งลดความชัน (inflection point) ซึ่งเศรษฐกิจยังคงหดตัว แต่ความชันเปลี่ยนเป็นน้อยลง และกำลังลงไปสู่จุดต่ำสุด ซึ่งที่จุดนี้ ทรัพยากรเป็นอันมาก โดยเฉพาะคือ แรงงาน และ อสังหาริมทรัพย์ จะอยู่ว่าง และมีราคาต่ำ
อาการชะลอตัว หดตัว เหล่านี้เองที่ทำให้ผู้คนก็มีกำลังซื้อต่ำ จึงทำให้เกิดสภาพเหมือนว่ามีการผลิตมากเกินไปในสินค้าต่าง ๆ
เฮนรี จอร์จ ยอมรับว่ามีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วย ส่วนที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างมีดังนี้:
1) การผลิตมีความซับซ้อน และต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ถ้าธุรกิจเกิดล้มหรือหยุดชะงักขึ้นส่วนหนึ่งก็จะแผ่ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ด้วย
2) ความบกพร่องในเรื่องเงินตรา
3) การเปลี่ยนแปลงปริมาณเครดิตอย่างมากมาย
4) ภาษีอันเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ในระหว่างพลังการผลิตด้วยกัน
อย่างไรก็ดี จอร์จถือว่าการเก็งกำไรในที่ดินเป็นสาเหตุใหญ่ของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ที่จริงการเก็งกำไรที่ดินมีอยู่ทุกวัน เศรษฐกิจจึงถูกถ่วงรั้งตลอดเวลา เป็นแต่อาการจะรุนแรงมากน้อยตามวัฏจักร แต่แม้ในภาวะปกติก็ทำให้แรงงานขั้นพื้นฐานต้องยากจนเดือดร้อนมากอยู่แล้ว
ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน วัฏจักรเศรษฐกิจก็จะไม่เหวี่ยงตัวรุนแรง ความเสียหายจะลดลงมหาศาล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น