ธุรกิจขายรองเท้ามือสองเเละซ้อมรองเท้า
ออกตัวก่อนนะครับว่า การทำธุรกิจนี่มีความเสี่ยงตรงต้องหาทำเลดีๆหนะครับ ถึงจะดีครับ
ธุรกิจส่วนตัวมาเปิดร้านขายรองเท้ากันดีกว่าเบ็ด เสร็จถ้าซื้อครบเซ็ตชุดซ่อมรองเท้า ใช้เงินลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท หรือหากใครที่อยากเปิดร้านซ่อมรองเท้า แต่งบประมาณน้อย เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 8,000-10,000 บาท แต่อุปกรณ์ที่ได้จะไม่ครบ ได้เฉพาะหัวใจสำคัญๆ เช่น มอเตอร์ขัด หินรองเจียน เหล็ก 3 ขา ตู้เก็บอุปกรณ์ และวัสดุหมุนเวียนจำนวนหนึ่ง
ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ไม่มีใครไม่สวมใส่รองเท้า เพราะรองเท้านอกจากช่วยป้องกันสิ่งสกปรก ยังช่วยไม่ให้เกิดบาดแผล และเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ฉะนั้น เมื่อรองเท้าถูกสวมใส่ไปเป็นเวลานานเกิดชำรุด เจ้าของจึงมีความจำเป็นที่จะต้องซ่อมแซม
อาชีพซ่อมรองเท้าจึง เป็นอีกหนึ่งอาชีพน่าสนใจ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง และครอบครัว ซ้ำสามารถทำเป็นอาชีพเสริม หรือยึดเป็นอาชีพหลักได้ วันนี้ ก้าวแรกเศรษฐี เล็งเห็นถึงช่องทาง จึงนำข้อมูลมาเสนอ โดยมี อาจารย์ศิวกรณ์ ทัดดี ผู้เชี่ยวชาญการซ่อมรองเท้า และวิทยากร ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน เป็นผู้ให้รายละเอียด
รู้ลึก รู้จริง เรื่องรองเท้า
สนใจอาชีพนี้ ง่ายกว่าที่คิด
สนใจอาชีพนี้ ง่ายกว่าที่คิด
ปัจจุบัน อาจารย์ศิวกรณ์ เปิดร้านรับซ่อมรองเท้ามา 26 ปี ชื่อร้าน “ราชาช่าง” ตั้งอยู่ ริมถนนลาดพร้าว ซอย 48 ใกล้โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ อาจารย์เล่าประวัติส่วนตัวคร่าวๆ ว่า เดิมรับราชการเป็นทหาร เงินเดือนประมาณหมื่นกว่าบาท ภายหลังหันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยการเปิดร้านซ่อมรองเท้า มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท
เริ่ม ต้น อาจารย์ให้ความรู้ถึงประเภทของรองเท้าว่า มีรองเท้าสำหรับสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี สำหรับรองเท้าสุภาพบุรุษ มี 3 ลักษณะ คือ รองเท้าทรงปิด เป็นรองเท้าหนังแบบผูกเชือก ใช้สวมใส่ไปงานพิธีต่างๆ ถัดมาคือ รองเท้าทรงเปิด เป็นรองเท้าหนังผูกเชือกเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างที่ปีกร้อยเชือกจะกว้าง สวมใส่ไปงานไม่เป็นทางการ และรองเท้าคัตชู เป็นรองเท้าหนังแบบสวม เห็นได้ทั่วไป ส่วนรองเท้าสตรีมี 3 ลักษณะเช่นเดียวกันคือ รองเท้าสตรีทรงปิด จะเหมือนกับรองเท้าสุภาพบุรุษทรงปิด แต่จะเรียว และมีส้นสูงกว่า ต่อมา รองเท้าสตรีทรงเปิด สวมใส่ได้ทุกโอกาส เว้นงานพิธีการ และสุดท้าย รองเท้าแบบสวม ลักษณะด้านหน้าจะเปิดกว้าง ส้นสูง เพรียว
สำหรับ ความพิเศษของรองเท้า 2 ประเภทใช้งานนี้ รองเท้าสตรีจะมีความพิเศษมากกว่า เพราะรองเท้าสตรีจะเน้นที่ส้นรองเท้า สามารถแบ่งได้ 3 แบบ คือ รองเท้าลักษณะส้นต่อ เป็นรองเท้าที่มีการประกอบส้นเข้ากับพื้น ยึดด้วยตะปู ถัดมา รองเท้าลักษณะส้นโค้ง เป็นรองเท้าที่พื้นมีลักษณะโค้ง เวลาประกอบส้นรองเท้า ต้องนำส้นมากำหนดความสูงของส่วนโค้ง เมื่อได้ขนาดที่ต้องการ นำมาเจียนให้พอเหมาะ แล้วทากาวประกอบตอกส้นติด และรองเท้าส้นตัน (รองเท้าแตะ แบบสวม) ส้นจะทำด้วยไม้ หรือพลาสติค แล้วหุ้มด้วยหนังเทียม หรือผ้าอีกที เวลาจะประกอบต้องนำส้นมาวางทาบกับแบบ แล้วค่อยตอกให้เข้ารูป
ทราบประเภทของรองเท้าแล้ว ต่อมา อาจารย์ แจกแจงถึงส่วนประกอบของรองเท้าว่า ประกอบไปด้วย หนังหน้าส่วนหัว หนังหน้าส่วนส้น หนังบริเวณหัว หนังบริเวณส้น ซับในรองเท้า ซับในพื้น เหล็กรองเอว พื้นรองเท้า และส้นรองเท้า ซึ่งสิ่งสำคัญของช่างซ่อมรองเท้าที่ดี ควรรู้ลักษณะเท้าของผู้สวมใส่ เพื่อจะได้ซ่อมให้ได้สัดส่วน
ด้านเครื่องมือในการซ่อมรองเท้าเท่าที่ จำเป็น อาจารย์ บอกว่า ประกอบไปด้วย มีดเจียนเครื่องหนัง ใช้สำหรับเจียน หรือตัดเครื่องหนัง คัตเตอร์ กรรไกรตัดหนัง เข็มขอ หรือเข็มชัก ใช้เย็บพื้นรองเท้า มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร ขึ้นไป เข็มสอย ใช้สำหรับเย็บรองเท้าอาการไม่หนัก หินรองเจียน ใช้รองหนังเวลาเจียน ควรเลือกขนาด 8 x 8 นิ้ว เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา เข็มงอ ใช้แทงนำเย็บรองเท้าในบริเวณที่ยากจะเข้าถึง คีม ตะไบ ใช้ตกแต่งส้นรองเท้า ค้อน ซึ่งค้อนของช่างหนังจะมีลักษณะแตกต่างจากค้อนทั่วไป หัวค้อนจะเป็นแป้นกลม หางยาว ปลายหางแบน เพื่อใช้ตอกตะปูตามซอกส้นรองเท้า คีมถอนตะปู หรือคีมปากนกแก้ว ใช้ถอนตะปูเวลาเปลี่ยนส้น เหล็กเจาะ หรือชุดตุ๊ดตู่ ใช้เจาะเครื่องหนัง ไขควงปลายแหลม ใช้สำหรับงัดพื้น หรือส้น เหล็กตอกรองส้นรองเท้า และที่ขาดไม่ได้ของงานซ่อมรองเท้า คือ เหล็ก 3 ขา และหินรองเจียน เพื่อใช้รองตอกตะปู ขัดรองเท้าให้เรียบ และไว้เปลี่ยนส้น
มี เครื่องมือช่างแล้ว วัสดุอุปกรณ์ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อาจารย์ ระบุต่อ มีกาว สามารถใช้ได้ทั้งกาวยางน้ำ และกาวเหลือง โดยกาวยางน้ำ เวลาใช้ต้องทาทิ้งไว้ให้แห้งพอหมาด จึงนำไปติดได้ ถ้าติดขณะที่กาวยังเปียก จะไม่ติด ส่วนกาวเหลือง สามารถติดได้เลย ต่อมาคือ แปรงทากาว ตะปู มีทั้งหัวเล็กขนาดสั้น และยาว ซึ่งขนาด 1 นิ้ว ใช้ตอกส้น ตะปูหมุดทองเหลืองไม่นิยมเพราะราคาแพง กระดาษทราย ใช้ตกแต่งผิวที่ขรุขระ กระดาษทรายที่นิยมใช้คือ กระดาษทรายแบบละเอียด และแบบหยาบ ยาเคลือบรองเท้ากีวี ใช้ตกแต่งเพื่อลบรอยขีดข่วน รอยถลอก แปรงขัดรองเท้า ด้ายเย็บรองเท้า พื้นรองเท้า ส้นรองเท้า โลหะติดส้นกันสึก มีทั้งแบบพลาสติค และเหล็ก
อุปกรณ์ และเครื่องมือช่าง ที่อาจารย์กล่าวมา เบ็ดเสร็จถ้าซื้อครบเซ็ตชุดซ่อมรองเท้า ใช้เงินลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท หรือหากใครที่อยากเปิดร้านซ่อมรองเท้า แต่งบประมาณน้อย เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 8,000-10,000 บาท แต่อุปกรณ์ที่ได้จะไม่ครบ ได้เฉพาะหัวใจสำคัญๆ เช่น มอเตอร์ขัด หินเจีย เหล็ก 3 ขา ตู้เก็บอุปกรณ์ และวัสดุหมุนเวียนจำนวนหนึ่ง
วิชาซ่อมรองเท้า เรียนรู้ง่าย
เปิดร้าน กำไรครึ่งต่อครึ่งทราบ รายละเอียดการลงทุน และเครื่องมือช่างที่ใช้ อาจารย์แนะนำต่อ ถึงสถานที่เปิดร้านและรูปแบบร้านว่า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ จำนวนประชากรผู้ใช้รองเท้า ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับการตั้งร้านหรือไม่ ส่วนรูปแบบร้าน เปิดได้ทั้งหน้าบริเวณที่พักอาศัย ท้ายรถยนต์ หรือเช่าพื้นที่ เช่น หน้าร้านอาหาร หน้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ “ทำเลที่แนะนำ ควรอยู่ในย่านชุมชน ตลาดสด ตลาดนัด ทางเข้าหมู่บ้าน ใต้คอนโดมิเนียม ใต้อพาร์ตเมนต์ หอพัก ป้ายรถประจำทาง ใต้สะพานลอย หรืออยู่ใกล้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน รวมถึงห้างสรรพสินค้า หน้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารตามสั่ง ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง”
เปิดร้าน กำไรครึ่งต่อครึ่งทราบ รายละเอียดการลงทุน และเครื่องมือช่างที่ใช้ อาจารย์แนะนำต่อ ถึงสถานที่เปิดร้านและรูปแบบร้านว่า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ จำนวนประชากรผู้ใช้รองเท้า ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับการตั้งร้านหรือไม่ ส่วนรูปแบบร้าน เปิดได้ทั้งหน้าบริเวณที่พักอาศัย ท้ายรถยนต์ หรือเช่าพื้นที่ เช่น หน้าร้านอาหาร หน้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ “ทำเลที่แนะนำ ควรอยู่ในย่านชุมชน ตลาดสด ตลาดนัด ทางเข้าหมู่บ้าน ใต้คอนโดมิเนียม ใต้อพาร์ตเมนต์ หอพัก ป้ายรถประจำทาง ใต้สะพานลอย หรืออยู่ใกล้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน รวมถึงห้างสรรพสินค้า หน้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารตามสั่ง ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง”
สำหรับอาการของรองเท้าส่วน ใหญ่ ที่ลูกค้ามักนำมาให้ซ่อม อาจารย์ ระบุว่า หากเป็นรองเท้าผู้ชาย มักให้เปลี่ยนพื้นรองเท้า เย็บบริเวณที่ขาด เปลี่ยนส้น ส่วนรองเท้าผู้หญิง มักให้เสริมส้นกันสึก ตกแต่งทาสี เย็บ แก้รองเท้าหลวม เปลี่ยนส้น และเปลี่ยนพื้น ซึ่งรองเท้าที่แก้ไขได้ยากคือ พวกรองเท้าบู๊ต รองเท้าเคาบอย รองเท้าหัวเหล็ก
ทางด้านค่าแรงที่ผู้ประกอบอาชีพนี้จะ ได้รับ อาจารย์ แจกแจงว่า ควรประเมินจากความยากง่ายในการซ่อม เวลาที่ใช้ และคุณภาพของวัสดุ แบ่งเป็นค่าวัสดุ 60 เปอร์เซ็นต์ ค่าแรง 40 เปอร์เซ็นต์ โดยยกตัวอย่างการเปลี่ยนพื้น และส้นรองเท้า 1 คู่ ดังนี้ ค่าพื้นรองเท้า ต้นทุน 60 บาท ส้นรองเท้า ต้นทุน 20 บาท กาว ตะปู 10 บาท เหล็กกันสึก 20 บาท รวม 110 บาท บวกกำไรค่าวัสดุ และค่าแรง เฉลี่ยบริการนี้ตามท้องตลาดอยู่ที่ 200 บาท “ลูกค้าที่มารับบริการซ่อมรองเท้า เป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น ผู้ให้บริการซ่อม ควรสร้างความมั่นใจ ความประทับใจ โดยกำหนดราคาให้คิดตามจริงจากคุณภาพวัสดุที่ใช้ แล้วค่อยบวกค่าแรง ซึ่งทุกครั้งก่อนกำหนดราคา ควรตกลงกับลูกค้าว่าต้องการวัสดุแบบใด จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง”
ถามถึงขั้นตอนการซ่อมรองเท้า และวิธีการความยากง่าย อาจารย์ บอกว่า ปัจจุบันไม่มีสถาบันใดที่สอนวิชาการซ่อมรองเท้า มีแต่โรงเรียนสอนตัดเย็บเครื่องหนัง ฉะนั้น แหล่งที่จะเรียนรู้ได้คือ คนใกล้ตัว ญาติสนิท หรือเรียนรู้จากช่างซ่อมรองเท้า ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องยาก เนื่องจากหวงวิชา อีกทั้งรองเท้าที่จำหน่ายทุกวันนี้ มีหลากหลายรูปแบบมาก วิธีการซ่อมต้องดัดแปลงตลอด ไม่ตายตัว “เวลาไปซ่อมรองเท้า อาศัยครูพักลักจำมาได้ แต่ถ้าต้องการเปิดร้านเต็มรูปแบบ ควรศึกษาก่อน ซึ่งวิชาช่างซ่อมรองเท้า ที่เปิดสอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพฯ นั้น เกิดจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์มาร่วม 20 ปี เนื้อหาที่สอนครอบคลุมทุกประเภทรองเท้าที่ใช้งาน”
และถึงแม้หลายคนจะ ยังไม่มีหน้าร้าน แต่อาจารย์ ระบุว่า การจะเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่ดี ควรมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ไม่หลอกลวง ควรตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ขยัน ประหยัด อดออม บริการด้วยอัธยาศัยที่ดี และรับฟังคำติชมจากลูกค้า เพื่อปรับปรุง และพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น