บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) คือ


ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves) คือ

สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรืออยู่ภายใต้การควบคุมโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศและสามารถนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเมื่อจำเป็น เช่น การชดเชยการขาดดุลการชำระเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงค่าเงินและใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งาน



ทุนสำรองระหว่างประเทศนั้นประกอบด้วย เงินตราต่างประเทศทุกสกุล (มักนิยมสำรองเป็นเงินตราที่มีการใช้บ่อยเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ เงินเยนและเงินหยวนเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทองคำ พันธบัตรรัฐบาล สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights : SDR) และสินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของทุนสำรองระหว่างประเทศคือ การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศ แทรกแซงค่าเงินเพื่อลดความผันผวนและรักษาสมดุลของเศรษฐกิจ ไม่ให้มีความผันผวนมากเกินไป รับมือความผันจากต่างประเทศและการโจมตีค่าเงิน ในบางประเทศมีการนำทุนสำรองระหว่างประเทศหรือเงินตราต่างประเทศส่วนที่เกินต่อความจำเป็นไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้เกิดดอกผลเพิ่มขึ้น เช่นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของต่างประเทศ การลงทุนในทองคำ เป็นต้น แต่จะเลือกลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ถึงแม้ผลตอบแทนจะไม่สูงมากนักก็ตาม

หน้าที่ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศคือ การใช้ค้ำประกันยอดการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งาน กล่าวคือ ยิ่งมีทุนสำรองมากก็จะสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งานได้มาก ซึ่งในแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันออกไป บางประเทศก็พิมพ์ธนบัตรออกมาเท่ากับปริมาณทุนสำรองที่มี ในขณะที่ประเทศไทยใช้หลัก 60% ซึ่งหมายถึงพิมพ์ธนบัตรออกมาเป็นปริมาณไม่เกินร้อยละ 60 ของทุนสำรองระหว่างประเทศ เนื่องจากการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้งานโดยไม่มีหลักประกันอะไรเลยหรือพิมพ์ออกมามากเกินไป จะทำให้ความน่าเชื่อถือของธนบัตรนั้นๆลดลงด้วย

ในโลกนี้มีอยู่ประเทศเดียวที่ไม่มีทุนสำรองระหว่างประเทศก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากธนบัตรดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกามีความต้องการและความน่าเชื่อถือสูง จึงไม่จำเป็นต้องมีอะไรค้ำประกัน (อย่างน้อยก็ในขณะนี้)

สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศได้รับการดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเก็บรักษาทุนสำรองเอาไว้ในรูปของเงินตราต่างประเทศ ทองคำ ตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง เงินฝากระยะสั้นในธนาคารพานิชย์

ทุนสำรองระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของทองคำ พันธบัตรรัฐบาลต่างชาติ และตราสารหนี้ทางการเงิน มาจากการที่ธนาคารกลางเข้าไปลงทุนหรือซื้อหาเอาไว้ ส่วนเงินตราต่างประเทศนั้นเกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหรือการเกินดุลการค้า (การส่งออกมากกว่าการนำเข้า) ซึ่งจะทำให้มีเงินตราต่างประเทศส่วนเกิน สุดท้ายเงินเหล่านั้นจะถูกแลกเปลี่ยนเป็นทอดๆ จนไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยในที่สุด

วิธีที่เราสามารถหาเงินตราต่างประเทสเข้าประเทศได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งคือการท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศไทยของเราใช้เงินบาทเป็นสกุลเงินหลัก (เรียกได้ว่าใช้สกุลเดียว) ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยจะต้องนำเงินตราประเทศของตนมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อจะใช้จ่ายในประเทศไทย เงินที่นักท่องเที่ยวนำมาแลกนั้นสุดท้ายก็จะถูกแลกเปลี่ยนจนถึงมือของธนาคารกลางในที่สุดดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

เงินตราต่างประเทศนั้นจะถูกใช้ในการชำระหนี้ ชำระค่าสินค้าและบริการที่ซื้อหามาด้วยสกุลเงินต่างประเทศนั่นเอง ตัวอย่างเช่นน้ำมัน เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าต้นทุน และอื่นๆ ดังนั้นถ้าเรามีเงินตราต่างประเทศน้อยเกินไป ก็จะทำให้การซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำได้ลำบาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและผู้ที่จำเป็นต้องใช้สินค้านำเข้ามาก

ที่มา ความรู้รอบตัว.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น