ร้านขายสินค้ามะขามเเปรรูป
“บ้านมะขาม” กำหนดจุดยืนของตัวเอง ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปมะขามหวานเพชรบูรณ์ครบวงจร โดยสร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่กว่า 40 รายการ ทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้า และขยายตลาดไปสู่ลูกค้าวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ และที่สำคัญตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในฐานะผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์มะขามหวานแปรรูป
พัชรี และนิวัฒน์ โฆวงศ์ประเสริฐ
ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าว คือ นิวัฒน์ และพัชรี โฆวงศ์ประเสริฐ ภายใต้บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ที่เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี พ.ศ.2541 จากกิจการในครัวเรือน ขยายเป็นกลุ่มอาชีพชุมชน กระทั่งปัจจุบัน ผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานของตัวเอง มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ผลิตภายใต้มาตรฐานสากล ทั้ง GMP และ HACCP
ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าว คือ นิวัฒน์ และพัชรี โฆวงศ์ประเสริฐ ภายใต้บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ที่เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี พ.ศ.2541 จากกิจการในครัวเรือน ขยายเป็นกลุ่มอาชีพชุมชน กระทั่งปัจจุบัน ผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานของตัวเอง มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ผลิตภายใต้มาตรฐานสากล ทั้ง GMP และ HACCP
กุญแจที่ช่วยให้ก้าวมาถึงทุกวันนี้ นิวัฒน์ ระบุว่า อยู่ที่การแปรรูปสร้างความแปลกใหม่ให้มะขามหวานเสมอๆ เริ่มแรกจากง่ายๆ โดยนำมะขามคลุมน้ำตาลที่ทุกคนเห็นจนชินตา แต่เพิ่มความน่าสนใจโดยแกะเมล็ดออกและนำไปอบ ช่วยให้กินได้สะดวกยิ่งขึ้น จนได้รับความนิยมอย่างสูง
ตามติดด้วยการแปรรูปมะขามหวานในหลายรูปแบบ เช่น มะขามคลุกเสวย มะขามแช่อิ่ม และมะขามหยี เป็นต้น จนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งให้แบรนด์เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ จากไอเดียดัดแปลงมะขามกวนแบบเดิมๆ ให้เป็นมะขามเคี้ยวหนึบ โดยกวนมะขามหวานด้วยเทคนิคพิเศษช่วยให้เนื้อละเอียดยิ่งขึ้นแล้วคลุกด้วยบ๊วยผง ถือเป็นเจ้าแรกที่นำมะขามหวานมายกระดับเป็นสแน็ก ควบคู่กับตัดสินใจขยายตลาดส่งเข้าวางขายในร้านสะดวกซื้อเจ้าดังอย่าง 7-11 ช่วยให้สินค้ากระจายสู่ลูกค้าทั่วประเทศ
“สำหรับธุรกิจเล็กๆ อย่างเอสเอ็มอี จำเป็นที่ต้องสร้างจุดแข็งของตัวเอง ทำให้บ้านมะขามกำหนดปรัชญาจะสร้างนวัตกรรมควบคู่กับคงภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้หลากหลาย ในขณะเดียวกันก็ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นมะขามหวานธรรมชาติที่ทุกคนชื่นชอบอยู่แล้ว ซึ่งการพัฒนาต้องเดินไปพร้อมกันทุกๆ ด้านทั้งกระบวนการผลิต การตลาด บรรจุภัณฑ์ และตัวผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีรสชาติ และรูปแบบถูกใจลูกค้า” นิวัฒน์ ระบุ
พายเค้กมะขาม
จากจุดยืนที่มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มะขามใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบัน แบรนด์ “บ้านมะขาม” มีผลิตภัณฑ์ถึง 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มอบแห้ง กลุ่มกวน กลุ่มขนม และอื่นๆ โดยมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 40 รายการ เช่น มะขามคลุก มะขามหยี 3 รส ทอฟฟี่มะขาม กล้วยกรอบแก้วไส้มะขาม พายเค้กไส้มะขาม บิสกิตมะขาม น้ำพริกกุ้งมะขาม เครื่องดื่มน้ำมะขามโซดา ฯลฯ แต่ละรายการยังมีหลายบรรจุภัณฑ์ ทั้งซอง กระปุก ขวด และกล่อง เป็นต้น
จากจุดยืนที่มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มะขามใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบัน แบรนด์ “บ้านมะขาม” มีผลิตภัณฑ์ถึง 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มอบแห้ง กลุ่มกวน กลุ่มขนม และอื่นๆ โดยมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 40 รายการ เช่น มะขามคลุก มะขามหยี 3 รส ทอฟฟี่มะขาม กล้วยกรอบแก้วไส้มะขาม พายเค้กไส้มะขาม บิสกิตมะขาม น้ำพริกกุ้งมะขาม เครื่องดื่มน้ำมะขามโซดา ฯลฯ แต่ละรายการยังมีหลายบรรจุภัณฑ์ ทั้งซอง กระปุก ขวด และกล่อง เป็นต้น
พัชรี ในฐานะผู้รับผิดชอบด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบุว่า การคิดแปรรูปมะขามหวานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะเริ่มจากดูความต้องการของตลาดเสียก่อน พยายามให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใกล้ตัวผู้บริโภค เหมาะจะมีไว้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน ซึ่งมะขามหวาน มีข้อดีที่รสชาติพื้นฐานเปรี้ยวอมหวาน ทำให้ง่ายต่อการสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งคาว และหวาน
“สูตรทั้งหมด ดิฉันและทีมงานจะเป็นผู้คิดค้นขึ้นเอง โดยพิจารณาจากตลาดเวลานั้นๆ ว่า มีความต้องการอะไร และกลับมาดูตัวเราเองว่า เราสามารถแปรรูปมะขามได้หรือไม่ บางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกรรมซับซ้อนมาก แต่อยู่ที่เราหยิบมาใช้ หรือดัดแปลงให้เหมาะสม ซึ่งก่อนจะออกตลาดทุกครั้ง จะทดสอบตลาดก่อน โดยให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างน้อย 8 จาก 10 คน จึงผลิตออกสู่ตลาดจริงจัง” พัชรี เผย
ภายในร้านที่ซ.รามคำแหง 118
นิวัฒน์ ระบุด้วยว่า ลูกค้าหลักของ “บ้านมะขาม” กว่า 90% คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่นถึงสูงอายุ โดยช่องทางตลาดกว่า 60% จะผ่านร้าน 7-11 นอกจากนั้น จะขายผ่านห้างสรรพสินค้า ห้างโมเดิร์นเทรด ออกบูทงานแฟร์ และหน้าร้านของตัวเองที่ ซ.รามคำแหง 118 รวมถึง ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป อาเซียน เป็นต้น โดยต่อปีใช้ปริมาณมะขามหวานเพชรบูรณ์ ถึงกว่า 2,000 ตัน
นิวัฒน์ ระบุด้วยว่า ลูกค้าหลักของ “บ้านมะขาม” กว่า 90% คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่นถึงสูงอายุ โดยช่องทางตลาดกว่า 60% จะผ่านร้าน 7-11 นอกจากนั้น จะขายผ่านห้างสรรพสินค้า ห้างโมเดิร์นเทรด ออกบูทงานแฟร์ และหน้าร้านของตัวเองที่ ซ.รามคำแหง 118 รวมถึง ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป อาเซียน เป็นต้น โดยต่อปีใช้ปริมาณมะขามหวานเพชรบูรณ์ ถึงกว่า 2,000 ตัน
โรงงานผลิตได้มาตรฐานสากล
จากความนิยมของผลิตภัณฑ์มะขามหวานแปรรูป เจ้าของธุรกิจ ยอมรับว่า ปัจจุบันมีคู่แข่งที่ทำผลิตภัณฑ์คล้ายกัน 2-3 ราย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นผู้บุกเบิกตลาด รวมถึง ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมากที่สุด ทำให้ยังครองเจ้าตลาดในด้านยอดขายสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยปีที่ผ่านมา (2553) กว่า 50-60 ล้านบาท
จากความนิยมของผลิตภัณฑ์มะขามหวานแปรรูป เจ้าของธุรกิจ ยอมรับว่า ปัจจุบันมีคู่แข่งที่ทำผลิตภัณฑ์คล้ายกัน 2-3 ราย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นผู้บุกเบิกตลาด รวมถึง ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมากที่สุด ทำให้ยังครองเจ้าตลาดในด้านยอดขายสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยปีที่ผ่านมา (2553) กว่า 50-60 ล้านบาท
สำหรับแผนธุรกิจปีนี้ (2554) เตรียมจะทำไร่ปลูกมะขามหวานด้วยตัวเองที่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อแก้ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนรวมถึง เปิดร้านของตัวเองเพิ่มใน 4 มุมเมืองรอบกรุงเทพฯ เพื่อรองรับลูกค้าที่จะซื้อเป็นของกินเล่นระหว่างเดินทาง นอกจากนั้น ไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มะขามแปรรูปใหม่ๆ ที่สร้างความพึงพอใจสู่ผู้บริโภคเสมอ เพื่อตอกย้ำความตั้งใจของแบรนด์ที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปมะขามหวานครบวงจร
โทร.0-2372-0298-9 หรือ www.tamarindhouse.co.th
ที่มา ผู้จัดการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น